TA-0009 โต๊ะพับสแตนเลส

ต้องการติดต่อสอบถาม หรือ มีข้อสงสัย

รายละเอียดเพิ่มเติม

โต๊ะสแตนเลส

TA-0009 โต๊ะพับสแตนเลส

โต๊ะพับสแตนเลส
Stainless table
Height (mm.) 700
Diameter (mm.) 1160

โต๊ะสแตนเลส เกรด 430 หน้า 0.6 มิลลิเมตร

โต๊ะสแตนเลส

สแตนเลสคืออะไร ผลิตจากอะไร ?

สแตนเลสคืออะไร ผลิตจากอะไร ?

สแตนเลสสตีล (Stainless Steel) จะเป็นโลหะที่ผสมระหว่างเหล็ก คาร์บอน และโครเมียม จึงมีความสามารถในการทนต่อการกัดกร่อนได้สูง จึงเป็นสนิมได้ยาก

เนื่องจากการที่ผสมโครเมียมเข้าไปในตัวเหล็ก ทำให้โครงสร้างของเหล็กมีการสร้าง โครเมียมออกไซต์ขึ้น และสารชนิดนี้มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้มีอะไรมากัดกร่อนเนื้อสแตนเลสได้โดยง่าย

และสแตนเลสในตามท้องตลาดก็ยังมีให้เลือกใช้ในหลากหลายประเภท ซึ่งจะแตกต่างกันตามอัตราส่วนผสม หรือมีการใส่ธาตุอื่นๆ เข้าไป ทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น

ประเภทของสแตนเลส

1. กลุ่มออสเทนนิติค (Austenitic)
เป็นสแตนเลสชนิดที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย มีส่วนผสมของโครเมียมประมาณ 16–22% คาร์บอนไม่เกิน 0.15% และมีการผสมนิกเกิลเข้าไปอีกด้วยประมาณ 8 -14% เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ และเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน

สำหรับรุ่นสแตนเลสสตีล ที่พบได้บ่อยในกลุ่ม ออสเทนนิติค คือ SS304 เป็นรุ่นที่ ผสมระหว่าง โครเมี่ยม 18% และนิคเกิล 8% หรือจะเรียกว่าสแตนเลส 18–8

และสแตนเลสรุ่น 200 อาจจะผสมแมงกานีส และไนโตรเจนแทน นิคเกิล เพื่อทำให้ราคาถูกลง

คุณสมบัติสำคัญของสแตนเลสสตีลกลุ่ม ออสเทนนิติค
ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม
สามารถขึ้นรูปและประกอบได้ดีมาก
ใช้กับงานที่เกี่ยวข้องกับคึวามสะอาดและอนามัยได้ดี
แข็งแรง และยืดหยุ่นสูง
แม่เหล็กดูดไม่ติด
ทนอุณหภูมิได้ตั้งแต่เย็นจัดจนถึงประมาณ 600°C
รุ่นสแตนเลสที่พบได้ในกลุ่มออสเทนนิติค คือ SS200 Series, SS304, SS316 , SS304L, SS316L

2. กลุ่มเฟอร์ริติค (Ferritic)
เป็นสแตนเลสที่ใช้งานมากเป็นลำดับถัดมา มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ โดยจะใช้โครเมียมเป็นส่วนผสมหลักอยู่ระหว่าง 10.5–27% และมินิกเกิ้ลผสมอยู่เล็กน้อย หรือไม่มีเลย

สแตนเลสชนิดนี้มักจะนำไปใช้ในการผลิต ถังน้ำ เครื่องครัว เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

คุณสมบัติของสแตนเลสสตีลกลุ่ม เฟอร์ริติค
ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี
ต้านทานการกัดกร่อนใต้แรงเค้นได้ดีกว่า ออสเทนนิติก
มีข้อจำกัดในการขึ้นรูป ไม่สามารถชุบแข็งได้
ทนอุณหภูมิได้สูง ถึง 850°C
แม่เหล็กดูดติด
รุ่นสแตนเลสที่พบได้ในกลุ่ม เฟอร์ริติค คือ 430, 430Ti, 439, 409

3. กลุ่มมาร์เทนซิติค (Martensitic)
เป็นแสตนเลสที่ผลิตจากโครเมียมประมาณ 12 -14% คาร์บอนประมาณ 0.1–1% นิกเกิล 0–2% และลิบดินัม 0.2–1%

ซึ่งผลที่ออกมาสแตนเลสชนิดนี้จะมีความทนทานที่มากขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น

คุณสมบัติของสแตนเลสสตีลกลุ่ม มาร์เทนซิติค
มีความต้านทานการกัดกร่อนปานกลาง
สามารถปรับความแข็งแรงได้
ใช้ในงานอุณหภูมิสูงได้ถึง 593°C
มีข้อจำกัดในการเชื่อม เนื่องจากมีคาร์บอนสูง

4. กลุ่มดูเพล็กซ์ (Duplex Stainless Steel)
เป็นสแตนเลสมีโครงสร้างที่ผสมระหว่างเฟอร์ไรต์ และออสตไนต์ โดยมีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 19–28% โมลิบดินัมมากกว่า 5% และมีนิกเกิลน้อยกว่า ออสเทนนิติค

ซึ่งสแตนเลสชนิดนี้มีความต้านทานต่อการแตกร้าน และการกัดกร่อนได้ดีมาก สามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดหรือด่าง

คุณสมบัติของสแตนเลสสตีลกลุ่ม ดูเพล็กซ์
ทนต่อคลอไรด์ ทำให้ใช้ได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดหรือด่าง
ต้านทานต่อการกัดกร่อน
ใช้ในงานเชื่อมและการขึ้นรูปได้ดี

5. กลุ่มเพิ่มความแข็งด้วยการตกผลึก
เป็นสแตนเลสที่มีความแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนได้ด ีและยังขึ้นรูปและชุบแข็งได้ในทีเดียว จึงมักจะถูกนำมาทำเป็นแกนสิ่งต่างๆ เช่น ปั้ม หัววาล์วสำหรับส่วนผสมของสแตนเลสชนิดนี้จะประกอบด้วย โครเมียมประมาณ 17% นิคเกิล 4% และใส่ไนโอเบียมกับทองแดงอย่างละเล็กน้อย

ความรู้เกี่ยวกับสแตนเลส (Stainless)

              เหล็กกล้าไร้สนิม หรือ สเตนเลส (อังกฤษ: Stainless steel)ในทางโลหกรรมถือว่าเป็นโลหะผสมเหล็ก ที่มีโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5% ชื่อในภาษาไทย แปลจากภาษาอังกฤษว่า stainless steel เนื่องจากโลหะผสมดังกล่าวไม่เป็นสนิมที่มีสาเหตุจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนในอากาศกับโครเมียมในเนื้อสเตนเลส  เกิดเป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวไว้ ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวเนื้อสเตนเลสได้เป็นอย่างดี  ปกป้องการกัดกร่อน และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่ายอย่างโลหะทั่วไป  สำหรับในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการบิน นิยมเรียกโลหะนี้ว่า corrosion resistant steel เมื่อไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นโลหะผสมชนิดใด  และคุณภาพระดับใด  แต่ในท้องตลาดเราสามารถพบเห็น สเตนเลสเกรด 18-8 มากที่สุด ซึ่งเป็นการระบุถึง ธาตุที่เจือลงในในเนื้อเหล็กคือ โครเมียมและ นิเกิล ตามลำดับ สแตนเลสประเภทนี้จัดเป็น Commercial Grade คือมีใช้ทั่วไปหาซื้อได้ง่าย มักใช้ทำเครื่องใช้ทั่วไป ซึ่งเราสามารถจำแนกประเภทของสเตนเลสได้จากเลขรหัสที่กำหนดขึ้นตามมาตรฐาน AISI เช่น 304 304L 316 316L เป็นต้น ซึ่งส่วนผสมจะเป็นตัวกำหนดเกรดของสเตนเลส ซึ่งมีความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป สเตนเลสกับการเกิดสนิม ปกติ Stainless steel จะไม่เป็นสนิมเพราะที่ผิวของมันจะมีฟิล์มโครเมียมออกไซด์ บางๆเคลือบผิวอยู่อันเนื่องมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง Cr ใน Stainless steel กับ ออกซิเจนในอากาศ การทำให้ Stainless steel เป็นสนิมคือการถูกทำลายฟิล์มโครเมียมออกไซด์ ที่เคลือบผิวออกไปในสภาวะที่ Stainless steel สามารถเกิดสนิมได้ ก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมาอีกครั้งเช่น ถ้าสเตนเลสถูกทำให้เกิดรอยขีดข่วน แล้วบริเวณรอยนั้นมีความชื้น ซึ่งสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยากับธาตุเหล็กก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมา ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดสนิมขึ้นได้

ค่าการนำความร้อน (Thermal conductivity)

สเตนเลสทุกชนิดจะมีค่าการนำความร้อนต่ำกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนมาก สเตนเลสเกรดที่มีส่วนผสมโครเมียมอย่างเดียว (plain chromium steel) มีค่าการนำความร้อน +_1/3 และเกรดออสเทนนิติกมีค่าการนำความร้อน +_1/4 ของเหล็กกล้าคาร์บอน ทำให้มีผลต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูง เช่นมีผลต่อการควบคุมปริมาณความร้อนเข้าระหว่างการเชื่อม, ต้องให้ความร้อนเป็นระยะเวลานานขึ้น เมื่อต้องทำงานขึ้นรูปร้อน

สัมประสิทธิ์การขยายตัว(Expansion coefficient)

สเตนเลสเกรดที่มีส่วนผสมโครเมียมอย่างเดียวมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวคล้ายกับเหล็กกล้าคาร์บอน แต่เกรดออสเทนนิติกจะมีสัมประสิทธ์การขยายตัวสูงกว่าเหล็กกล้าคาร์บอน 1½ เท่า การที่สเตนเลสมีการขยายตัวสูงแต่มีค่าการนำความร้อนต่ำทำให้ต้องหามาตรการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียหายที่ตามมาเช่น ใช้ปริมาณความร้อนในการเชื่อมต่ำ, กระจายความร้อนออกโดยใช้แท่งทองแดงรองหลัง, การจับยึดป้องกันการบิดงอ ปัจจัยเหล่านี้ต้องพิจารณาการใช้งานร่วมกันของวัสดุ เช่นท่อแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchanger) ระหว่างเปลือกโครงสร้างเหล็กกล้าคาร์บอน และท่อออสเทนนิติคเป็นต้น

ฟิล์มป้องกันและการสร้างฟิล์ม (Passive film)

สเตนเลสจะมีฟิล์มบางๆ ต้านทานการกัดกร่อน จำเป็นต้องรักษาความสมบูรณ์ของฟิล์มป้องกัน ดังนี้

หลีกเลี่ยงความเสียหายหรือการสัมผัสรุนแรงทางกล

ซ่อมปรับปรุงพื้นที่ที่มีผลต่อการเสียหายเช่น บริเวณที่เกิดสะเก็ดหรือคราบออกไซด์เนื่องจากอุณหภูมิสูงใกล้ๆ แนวเชื่อม, บริเวณที่เกิดความเสียหายทางกลหรือมีการเจียระไน, มีการปนเปื้อนโดยวิธีการสร้างฟิล์มป้องกัน (passivation) อย่างเดียวหรือใช้ทั้งวิธีการแช่กรดเพื่อกำจัดคราบจากออกไซด์ (pickling) หรือ การแช่กรดหรือทาน้ำยาสร้างฟิล์มออกไซด์ (passivation) ที่ผิวเหล็กกล้าสเตนเลส

แน่ใจว่ามีออกซิเจนเพียงพอและสม่ำเสมอ ที่สร้างออกไซด์ที่ผิวของ เหล็กกล้าสเตนเลสได้

การเสียหายที่ผิวเนื่องจากการเสียดสีที่ผิวโลหะกับโลหะอย่างรุนแรง (Galling /pick up / seizing)

ผิวหน้าสเตนเลสมีแนวโน้มที่จะเกิดการเสียหายเนื่องจากการเสียดสีอย่างรุนแรง ต้องหลีกเลี่ยงและระมัดระมัดระวัง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวโดยสำหรับผิวหน้าที่มีการเสียดสีกันตลอดเวลา ควรใช้ Load หรือแรงเสียดสีต่ำสุด และต้องแน่ใจว่าการเสียดสีไม่สร้างความร้อนเกิดขึ้น ควรรักษาผิวสัมผัสไม่ให้มีการบดกับผงฝุ่น เม็ด ทรายฯลฯ และใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือเคลือบผิว

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด - × - × 700 เซนติเมตร