ลดราคา!

IBC-0001*ถังบรรจุสารเคมี1000ลิตร แบบพาเลทพลาสติก

฿9,000.00

ต้องการติดต่อสอบถาม หรือ มีข้อสงสัย

รายละเอียดเพิ่มเติม

ถังบรรจุสารเคมี

ถังบรรจุสารเคมีขนาดใหญ่
Intermediate Bulk Container
Size (mm.) Long Width Height Material
External 1200 1000 1175 HM-HDPE
Pallet Type Plastic (PE)
Inner Container
(Uv Stabilized HM-HDPE)
Transparent / Opaque / Black
Useful Volume (ltr) 1000
Filling Openning DN 150, PLAIN / VENTING
Gasket For Filling Openning EPDM / VITON
Bottom Discharge Valve DN 50 Butterfly / DN 80 Butterfly / DN 50 Ball
Indentification Plate 504×396 mm. / 673×396 mm.
Un Number Yes

*มือ1

ถังบรรจุสารเคมี

> สำหรับบรรจุสารเคมี

> คอกตะแกรงผลิตจากเหล็กชุบกัลวาไนซ์

> ด้านล่างถังมีก๊อกเปิด-ปิด สะดวกในการใช้งาน

> ประหยัดพื้นที่และปลอดภัยในการจัดเก็บ

> พาเลทเป็นแบบพลาสติกเข้าได้ 4 ทาง

> ถังพลาสติก HM-HDPE มาตรฐานตามข้อกำหนด UN

> มีคุณสมบัติทนทานต่อการปนเปื้อนและการกัดกร่อนจากผลิตภัณที่บรรจุ

> ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง ISO 9001:2008 และ HACCP จาก MASCI

ถังเก็บสารเคมีคืออะไร

ถังเก็บสารเคมี คือ บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุสารเคมีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการรั่วไหลและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำถังสารเคมีมีหลากหลายประเภทและหลายขนาด ขึ้นอยู่กับประเภทของสารเคมีและการใช้งาน

สำหรับการออกแบบถังเก็บสารเคมีมักจะยึดตามมาตรฐาน API 650 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ระบุข้อกำหนดขั้นต่ำในการออกแบบสารเคมี เพื่อที่จะเก็บรักษาสารเคมีได้อย่างปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคนและสิ่งแวดล้อม โดยสารเคมีแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติการกัดกร่อน ความไวไฟ และความเป็นพิษที่แตกต่างกันออกไป ผู้ใช้งานจึงต้องเลือกถังเก็บสารเคมีตามความเหมาะสม เราสามารถแบ่งประเภทของถังเก็บสารเคมีออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • ถังเก็บสารเคมีอันตราย มักใช้เก็บสารเคมีที่ไวไฟ เป็นพิษ เป็นกรดหรือด่าง
  • ถังเก็บสารเคมีทั่วไป มักใช้เก็บน้ำ น้ำมัน แก๊ส

ขนาดของถังเคมีจะมีขนาดที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ขนาดเล็ก (1-10 ลิตร) ขนาดกลาง (10-100 ลิตร) และขนาดใหญ่ (100-1,000 ลิตร) ซึ่งหากเป็นการเก็บสารเคมีขนาดใหญ่ จะต้องทำตามคู่มือมาตรฐานความปลอดภัยการจัดเก็บสารเคมีอันตราย ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย

ลักษณะของถังเก็บสารเคมี

ลักษณะของถังเก็บสารเคมีโดยทั่วไปจะต้องมีการออกแบบและผลิตให้มีความปลอดภัยและทนทาน ไม่เปลี่ยนสภาพ ไม่ผุกร่อนได้ง่าย ๆ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ก่อให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมี โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งวัสดุที่ใช้ในการผลิตถังเก็บสารเคมีได้ 4 ประเภทหลัก ๆ คือ

  1. ถังพลาสติก เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีน้ำหนักเบา ราคาถูก สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีได้หลายชนิด อายุการใช้งานยาวนาน โดยนิยมใช้เม็ดพลาสติก HDPE, LDPE, XLPE มาผลิตถังเก็บสารเคมี
  2. ถังโลหะ โดยมากจะผลิตจากสเตนเลส เป็นถังที่ทนทานต่อการกัดกร่อนและแรงกระแทกมากกว่า แต่อาจจะไม่เหมาะกับสารเคมีบางชนิดที่กัดกร่อนโลหะได้  และมีน้ำหนักที่หนักกว่าถังพลาสติก และถังไฟเบอร์กลาส
  3. ถังไฟเบอร์กลาส ทนต่อการกัดกร่อนและความร้อนได้ดี ไม่เป็นสนิม แข็งแรงทนทาน เบากว่าถังโลหะและคอนกรีต
  4. ถังคอนกรีต เป็นถังเก็บสารเคมีที่ได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน โดยมากมักจะมีการบุด้วยวัสดุอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารเคมี

อย่างไรก็ตาม การเลือกถังเก็บสารเคมีให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ควรจะพิจารณาสารเคมีที่บรรจุเป็นสำคัญ เพื่อเลือกลักษณะของถังเก็บสารเคมีที่ตอบโจทย์การใช้งาน

รู้ถึงมาตรฐานของถังเก็บสารเคมี ถังเคมีเพื่อให้ปลอดภัยในการใช้งาน

ในอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นจะต้องใช้ถังเก็บสารเคมี การจะเลือกซื้อถังเคมีมาใช้งานนั้นต้องพิจารณาให้ดีก่อนเสมอ เพราะการเลือกถังที่เหมาะสมและได้มาตรฐานถือเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องสารประกอบอันตรายและสารเคมีทั่วไป เพื่อให้การใช้งานนั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น เนื่องจากสารเคมีอาจเป็นอันตรายได้ การจัดเก็บสารเหล่านี้อย่างปลอดภัยจึงมีความสำคัญสูงสุด ไม่เพียงแต่ปกป้องสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมถึงสุขภาพและความปลอดภัยของคนด้วย เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องรู้ว่าถังเก็บสารเคมีนั้นควรมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยอย่างไรบ้าง

 

มาตรฐานและความปลอดภัยของถังเก็บสารเคมี ที่ควรรู้ก่อนเลือกใช้

การเลือกถังเก็บสารเคมีที่ดีที่สุดคือการพิจารณาจากความปลอดภัยที่จะได้รับ ถังเคมีที่ดีและมีคุณภาพจะต้องได้มาตรฐานทั้งในด้านการผลิต และในด้านของการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อคนและสิ่งแวดล้อม มารู้จักกันว่ามาตรฐานถังเก็บสารเคมีที่ปลอดภัยมีอะไรบ้างที่ต้องพิจารณาก่อนเลือกใช้

  1. ความเข้ากันได้ทางเคมี
    เมื่อพูดถึงการจัดเก็บสารเคมี ความเข้ากันได้ระหว่างวัสดุถังเคมีและสารที่จะจัดเก็บถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดการกัดกร่อนหรือปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ โดยถังเก็บสารเคมีที่มีมาตรฐานจะเข้ากันได้กับสารเคมีนั้น ๆ โดยสามารถพิจารณาเลือกจากองค์ประกอบต่อไปนี้
    คุณสมบัติทางเคมี

    • ปฏิกิริยา: สารเคมีบางชนิดทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับอากาศ น้ำ หรือสารเคมีอื่น ๆ เลือกวัสดุถังเก็บสารเคมีที่จะไม่กระตุ้นหรือได้รับผลกระทบจากปฏิกิริยาเหล่านี้
    • ความไวไฟ: สำหรับสารเคมีที่ติดไฟได้ ควรเลือกใช้ถังเก็บสารเคมีที่ทนไฟได้ และแน่ใจว่ามีการระบายอากาศ และส่วนประกอบที่ป้องกันการระเบิดอย่างเหมาะสม
    • ความเป็นพิษ: เพื่อป้องกันการปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม ถังเคมีที่เลือกใช้ควรป้องกันไม่ให้สารเคมีซึมผ่านหรือรั่วไหลได้ เพราะสารเคมีที่มีพิษสูงอาจจำเป็นต้องมีการบรรจุสองชั้นหรือใช้ถังเคลือบ

    การประเมินสารเคมีเฉพาะที่คุณต้องการจัดเก็บ และเลือกวัสดุถังเก็บสารเคมีที่ได้มาตรฐาน จะบรรจุสารเคมีเหล่านั้นอย่างปลอดภัยตามระยะเวลาที่ต้องการ และควรเลือกถังที่สามารถทนได้กับสารเคมีของคุณด้วย เพราะการจับคู่ที่เหมาะสมจะทำให้มั่นใจได้ถึงการจัดเก็บสารเคมีที่ปลอดภัย ยั่งยืน และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

  2. ต้องมีความจุและปริมาตรที่เหมาะสม
    การกำหนดความจุและปริมาตรของถังเก็บสารเคมีเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อความถี่และต้นทุนในการเติม ขนาดถังที่เลือกขึ้นอยู่กับปริมาตรสารเคมีที่ต้องการ สำหรับมาตรฐานการใช้งานขนาดเล็ก ถังเคมีควรมีขนาดตั้งแต่ 30 ถึง 1,000 แกลลอน ซึ่งเหมาะสำหรับตัวทำละลาย สารหล่อเย็น และน้ำยาทำความสะอาด แต่หากคุณต้องการถังเก็บสารเคมีขนาดกลาง ควรมีขนาด 1,000 ถึง 10,000 แกลลอน เหมาะสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมที่มีปริมาณสารเคมีมากขึ้น การเลือกขนาดถังและวัสดุที่เหมาะสมจะช่วยให้มั่นใจในการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย
     
  3. คุณสมบัติการจัดการวัสดุและความปลอดภัย
    มาตรฐานถังเก็บสารเคมีต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ ถังเคมีที่มีผนังสองชั้นจะป้องกันการรั่วไหลเป็นพิเศษ และควรมีวาล์วระบายฉุกเฉิน เพราะถังที่บรรจุของเหลวหรือก๊าซที่มีแรงดันจำเป็นต้องใช้วาล์วระบายฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยสำหรับสารเคมีของคุณ และถังเก็บสารเคมีที่ดีและมีมาตรฐานจะต้องมีการกักเก็บสำรองในตัว เพื่อดักการรั่วไหลของสารเคมี
     
  4. ต้องมีเสถียรภาพการทำงาน
    เนื่องจากในกระบวนการดำเนินการเปลี่ยนแปลงความดันของถังเก็บสารเคมีเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ถังที่ได้มาตรฐานจะต้องมีประสิทธิภาพการป้องกันที่ดี และมีความเสถียรของแรงดันในการทำงานของถังเคมี เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของเปลือกถัง และหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่ควบคุมไม่ได้

     

  5. ต้องมีการทดสอบความต้านทานต่อการแตกหักของ ESCR
    การทดสอบความต้านทานต่อการแตกหักของ ESCR คือการทดสอบความทนต่อสภาพแวดล้อมของถัง เพื่อวัดค่าความคงทนของถังเคมี ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นมาก ๆ สำหรับพลาสติก เพื่ออายุการใช้งานที่ยืนยาว
  6. อุณหภูมิความร้อนของสารเคมี
    ถังพลาสติกที่ทนต่อสารเคมีที่ดีต้องทนต่อความร้อนของสารเคมีได้ เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นกระตุ้นให้เกิดปฎิกิริยาทางเคมีและเพิ่มการดูดซึมทางกายภาพ การเลือกซื้อถังที่วัสดุมีคุณภาพ ทนความร้อน และเหมาะกับสารเคมีนั้น ๆ จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  7. การบำรุงรักษา
    เพื่อความปลอดภัยในการใช้ถังเก็บสารเคมี และส่งเสริมอายุการใช้งาน รวมถึงการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาถังเคมีที่เหมาะสม ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตทั้งหมด และไม่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความเสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุ โดยสามารถดูแลรักษาถังเคมีเพื่อเพิ่มความปลอดภัย คือ มีการบำรุงรักษาทุก ๆ 60-120 วัน ได้แก่ การทำความสะอาดตัวถัง การเปลี่ยนพื้นผิวของเหลว ตลอดจนการขุดลอก และการทำความสะอาดวาล์ว ส่วนงานยกเครื่องหลักควรทำทุก ๆ 12 เดือน ได้แก่ ตรวจชิ้นส่วนภายในถังเก็บสารเคมี เมื่อพบว่ามีรอยแตกร้าวหรือมีการกัดกร่อนอย่างรุนแรง จะต้องดำเนินการซ่อมแซมในทันที

การเลือกใช้ถังเก็บสารเคมีให้เหมาะสม และเลือกให้ถูกต้องตามมาตรฐาน จะช่วยรับประกันการจัดเก็บสารอันตรายอย่างมีความรับผิดชอบ และปลอดภัยต่อพนักงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย อย่าลืมพิจารณาจากมาตรฐานการผลิต การใช้งาน และเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ เพื่อให้สารเคมีของคุณนั้นคงประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากที่สุด

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด 120 × 100 × 117.5 เซนติเมตร