รายละเอียดเพิ่มเติม
ถังเก็บน้ำบนดิน อย่างหนาเหนียว
ผลิตจากโพลีเอทธีลีน เม็ดพลาสติก มาตรฐาน มอก. 816-2538 และได้รับ มอก.
ถังพลาสติก1379-2539 สีที่ใช้ในการผลิตผ่านมาตรฐาน FDA จึงเป็นสีที่เหมาะในการนำมา
ใช้บรรจุอาหาร และยังทนทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี
โพลีเอทธีลีนที่เลือกใช้ ยังมีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันแสงอุลตร้าไวโอเล็ต
ทำให้สามารถรักษาและคงสภาพไว้ได้แม้จะต้องอยู่กลางแจ้ง ดังนั้นจึงไม่ทำให้น้ำหรือของเหลว
เปลี่ยนรสชาติหรือคุณสมบัติแต่อย่างใด น้ำในถังจึงสะอาดและปลอดภัยต่อการอุปโภคบริโภค
ขนาดความจุ 200 ลิตร
ความกว้างฐาน Ø 49 cm.
ความกว้างปากถัง Ø 20 cm.
ความสูงรวม 121 cm.
ถังเก็บน้ำบนดิน
(Water Storage Tank) เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการเก็บน้ำฝนหรือน้ำประปาเพื่อการใช้งานในทุกวันหรือการใช้งานฉุกเฉิน โดยส่วนใหญ่จะติดตั้งบนพื้นที่ดินหรือบนโครงสร้างที่มีพื้นที่ว่างเพื่อเก็บน้ำไว้ เพื่อนำมาใช้ในการเกษตร การบำรุงรักษาพื้นที่สีเขียว การใช้ในการสร้างอาคาร หรือในการอุปโภคบริโภค เช่น การใช้น้ำทำความสะอาด การอาบน้ำ หรือการดื่มน้ำ เป็นต้น
ถังเก็บน้ำบนดินมักมีความจุตั้งแต่ไม่กี่ลิตรถึงหลายล้านลิตร และสามารถมีรูปแบบและวัสดุที่แตกต่างกันได้ บางทีอาจเป็นถังเหล็ก ถังเครื่องเหล็กชุบสังกะสี ถังพลาสติก หรือถังคอนกรีต การเลือกใช้วัสดุขึ้นอยู่กับการใช้งาน สภาพแวดล้อม และความต้องการของผู้ใช้ โดยทั่วไปมักจะใช้ถังที่ทนทานต่อการกัดกร่อน แข็งแรง และมีการรักษาความสะอาดง่าย
การรักษาถังเก็บน้ำบนดินเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานควรมีการตรวจสอบและทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของสิ่งสกปรก และควรเช็คสภาพของถังเป็นประจำเพื่อตรวจสอบความแข็งแรงและป้องกันการรั่วซึมที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว
1. ถังเก็บน้ำบนดิน กับถังเก็บน้ำใต้ดิน มีแบบไหนบ้าง ?
1.1 ถังเก็บน้ำที่อยู่บนดิน
ถังเก็บน้ำชนิดที่อยู่บนดิน (Above Ground Water Tank) จะต้องทำจากวัสดุที่สามารถป้องกันรังสียูวี ทนความร้อน ทนแดด ทนฝนได้ดี โดยเน้นเป็นแบบทึบแสง เพื่อป้องกันการเกิดตะไคร่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของเชื้อโรคสะสม เช่น ไฟเบอร์กลาส, พลาสติกโพลีเอทิลีน, สเตนเลส นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงรูปทรงและสี ที่เข้ากับบรรยากาศโดยรวมของบ้าน เพื่อไม่ให้ดูสะดุดตาจนเกินไปด้วย
1.2 ถังเก็บน้ำที่อยู่ใต้ดิน
ถังเก็บน้ำแบบที่ฝังอยู่ใต้ดิน (Underground Water Tank) นิยมเลือกเป็นถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสำรองน้ำปริมาณมาก สำหรับบ้านหรืออาคารที่มีความต้องการใช้น้ำสูง โครงสร้างอาคารต้องถูกออกแบบ เพื่อให้สามารถวางถังเก็บน้ำได้อย่างเหมาะสม ถังจะได้ไม่เสียหาย และใช้งานได้นาน เหมาะสำหรับวางถังคอนกรีตเสริมเหล็ก หรืออาจเลือกเป็นวัสดุที่แบกรักน้ำหนักได้ดี อย่างไฟเบอร์กลาสหรือโพลีเอทิลีน ทรงแนวนอนก็ได้
ข้อดี – ข้อเสีย ของถังเก็บน้ำบนดิน และถังใต้ดิน
2.1 ถังเก็บน้ำที่อยู่บนดิน
ข้อดี
- ติดตั้งง่าย วางระบบท่อประปาได้สะดวก
- หากต้องการปรับปรุงบ้าน สามารถเคลื่อนย้ายถังเก็บน้ำได้ง่าย
- ทำความสะอาด ซ่อมแซม และบำรุงรักษาได้แบบไม่ยุ่งยาก
- มีแหล่งสำรองน้ำเพิ่มจากน้ำฝน
- ค่าใช้จ่ายโดยรวม ถูกกว่าถังเก็บน้ำแบบใต้ดิน
ข้อเสีย
- ทั้งถังเก็บน้ำขนาดใหญ่และเล็ก จะทำให้เสียพื้นที่รอบบ้านลงไปส่วนหนึ่ง
- มองเห็นท่อประปา และอาจมองเห็นปั๊มน้ำชัดเจน ดูไม่สวยงามนัก
- อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ตามสภาพอากาศภายนอก
- หากถังเก็บน้ำชำรุดเสียหาย เช่น แตกหัก หรือล้ม อาจทำให้ผู้อยู่ใกล้เคียงบาดเจ็บ รวมถึงสร้างความเสียหายให้กับตัวอาคาร
- อาจเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ
2.2 ถังเก็บน้ำที่อยู่ใต้ดิน
ข้อดี
- ถังเก็บน้ำที่ใต้ดิน โดดเด่นในแง่ของการประหยัดพื้นที่ สามารถโซนทำสวน ขยายครัว หรือทำที่จอดรถเพิ่มเติมได้
- ทัศนียภาพน่ามอง ไม่ต้องเสียเวลาดีไซน์ เพื่อให้ถังเก็บน้ำดูเข้ากับการตกแต่งโดยรวม
- อุณหภูมิน้ำภายในถังคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามดินฟ้าอากาศ
- ไม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของถัง รวมถึงไม่ต้องคอยกังวล กรณีที่บ้านมีเด็กเล็กหรือสัตว์เลี้ยงด้วย
- ปลอดภัยจากลมแรง, พายุ, ฟ้าผ่า หรือแดดร้อนจัด
ข้อเสีย
- ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ และทีมงานมืออาชีพในการติดตั้ง
- มีการรบกวนโครงสร้างอาคาร ต้องทำการก่อสร้างฐานเพิ่มเติม
- การซ่อมแซม และบำรุงรักษาทำได้ยาก หากถังเกิดการชำรุด
- การทำความสะอาดตามวงรอบ อาจทำได้ยากกว่า
- ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง เมื่อเทียบกับถังบนดิน
3. เลือกถังเก็บน้ำแบบไหนดีกว่ากัน ?
ทั้งถังเก็บน้ำบนดินและถังเก็บน้ำใต้ดิน มีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน การตัดสินใจเลือกตำแหน่งการติดตั้งถัง ควรพิจารณาจากลักษณะการใช้งานและพื้นที่เป็นหลัก หากเป็นถังเก็บน้ำแบบใต้ดิน จะเหมาะกับอาคาร สำนักงาน ศูนย์การค้า สถานที่ราชการ หรือที่อยู่อาศัย ที่เป็นแหล่งรวมของคนจำนวนมากตลอดทั้งวัน เพราะสามารถวางถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ได้ โดยไม่เปลืองพื้นที่อาคาร รวมถึงตัวอาคารก็ไม่ต้องรับโหลดจากถังเก็บน้ำเพิ่มด้วย ซึ่งหากต้องการติดตั้งถังลักษณะนี้ ควรมีการวางแผนตั้งแต่ก่อนสร้างอาคาร
สำหรับถังเก็บน้ำแบบที่วางบนดิน เหมาะกับการติดตั้งเพิ่มเติมภายหลัง แต่ก็สามารถวางแผนติดตั้งในช่วงเริ่มก่อสร้างได้เช่นกัน เหมาะสำหรับอาคารหรือบ้าน ที่มีพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้งาน ทั้งยังเหมาะกับการนำไปจัดวางไว้ ให้เป็นส่วนหนึ่งของสวนรอบบ้าน เพราะรูปแบบของถังเก็บน้ำในปัจจุบัน ถูกพัฒนาดีไซน์มาอย่างต่อเนื่อง จนพื้นผิวของถังเก็บน้ำ ดูกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ซึ่งการจะตัดสินใจว่าแบบไหนดีกว่ากันนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับความต้องการเป็นหลัก
ตอบสนองทุกความต้องการทางธุรกิจ
ชินเตอร์โปรดักส์เข้าใจ ถึงความต้องการที่หลากหลาย และชินเตอร์ยังให้ความสำคัญกับลูกค้าเสมอมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา โทรหาเราสิคะ 02-916-1900 สำรอง 095-556-9003
Fax :
ฝ่ายขาย : 02-543-9497
ฝ่ายบัญชี : 02-916-1300
สกรีนฟรี
ซื้อสินค้ากับเรา สามารถสั่งสกรีนข้อความ โลโก้หน่วยงาน คัดแยกขยะ หรือ บ้านเลขที่ ได้ ฟรี (ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด)
จัดส่งตรงถึงที่
บริการส่งสินค้าทั่วไทย โดยทีมงานมืออาชีพ สะดวก รวดเร็ว ทันใจ