STA-0036 บันไดทรง A มีพื้นยืนแบบมีถาดวางเครื่องมือ

ต้องการติดต่อสอบถาม หรือ มีข้อสงสัย

รายละเอียดเพิ่มเติม

บันได

บันไดแบบมีถาดวางเครื่องมือ
With Tool Tray Ladder
Load
Capacity
(mm)
Dimension Number
of Steps
Net
Weight
(mm)
W
(mm)
H
(mm)
B1
(mm)
B2
(mm)
150 812 1522 280 436 4 4.61

#บันไดแบบมีถาดวางเครื่องมือ With Tool Tray Ladder

บันได

– บันไดทรง A ขึ้น-ลง ได้ด้านเดียว

– มีถาดวางอุปกรณ์เพื่อสะดวกในการใช้งาน

– น้ำหนักเบา พับเก็บง่าย ขนย้ายสะดวก

– มีพื้นเหยียบพลาสติกปั๊มลาย กันลื่น

บันได

     บันไดทรง A เป็นบันไดชนิดพับได้ เวลาใช้งานสามารถกางออกให้เกิดฐานที่มั่นคงตั้งอยู่ได้เอง สามารถตั้งวางได้ไม่จำเป็นต้องหาจุดพาดบันไดกับผนังหรือวัตถุอื่นให้แน่นก่อน เหมือนบันไดแบบพาด ทำให้มันเป็นบันไดที่สะดวกในการใช้งาน และสามารถทำงานคนเดียวได้ไม่ต้องอาศัยคนมาช่วยจับ และยิ่งเป็นแบบที่ขึ้นลงได้ 2 ทาง ยิ่งทำให้เกิดความสะดวกในการทำงาน สามารถย้ายมุมได้โดยไม่ต้องยกย้ายบันไดใหม่ และที่น่าสนใจก็คือ บันไดแบบนี้หากต้องการเปลี่ยนไปใช้ลักษณะแบบพาดก็สามารถทำได้ เพียงพับเข้าหากัน ก็สามารถใช้แทนบันไดแบบพาดได้แล้ว เหมาะสำหรับพื้นที่แคบๆ ที่ไม่สะดวกในการกางขาของบันไดออก

                           ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้ บันไดพับได้ แบบนี้เป็นที่นิยมซื้อเอามาไว้ใช้งานในบ้าน หรือใช้ในการรับทำงานช่างของช่างมืออาชีพ อย่างไรก็ตามบันไดแบบนี้มีผลิตออกมาขายเป็นจำนวนมาก และมีหลากหลายราคา การที่เราจะเลือกซื้อมาเพื่อใช้งานจะต้องเลือกดูลักษณะของบันไดให้เหมาะสมด้วย

            ลักษณะของ บันไดอลูมิเนียม ทรง A ที่ดี

  1. ทำจากอลูมิเนียมเกรดดีมีความหนาและแข็งแรง เนื่องจากบันไดต้องรับทั้งน้ำหนักของคนที่ใช้งาน และอาจมีสิ่งของเครื่อง รวมทั้ง ต้องรับแรงที่เกิดจากการเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้นความแข็งแรงต้องใส่ใจให้มาก
  2.  ขั้นบันไดแข็งแรงและอยู่ในแนวระนาบตรง ไม่มีลักษณะเอียงไม่เท่ากันหรือบิดเบี้ยว เพราะต้องถ่ายน้ำหนังลงในโครงสร้าง 2 ด้านเท่าๆ กัน
  3. ขั้นบันไดมีขนาดความกว้างพอดีไม่เล็กเกินไปสำหรับการวางเท้า เรื่องนี้สำคัญเช่นกัน เพราะเวลาที่ขึ้นไปทำงานอาจจะต้องยืนอยู่เป็นเวลานาน หากมีขนาดที่เหยียบไม่เหมาะสม ทำให้เกิดอาการปวดได้ เพราะเท้าต้องรับน้ำหนักลงไปที่จุดเล็กๆ จุดเดียว ที่ขาของบันไดต้องมียางป้องกันการลื่นติดอยู่ ไม่ควรเป็นพลาสติก เพราะทำให้เกิดความลื่นในเวลาที่เราใช้งานได้ เป็นเรื่องที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
  4. มีตัวล็อกหรือสายยึดระหว่างแต่ละด้านของบันไดที่มีความแข็งแรง สามารถรับแรงในเวลาที่เราขึ้นใช้งานได้ดี และส่วนนี้ก็ควรมีการตรวจทุกครั้งก่อนการใช้งานด้วย เพื่อความปลอดภัย
  5. มีขนาดที่พอเหมาะกับความต้องการของเรา เรื่องนี้ก็สำคัญ เพราะต่อให้มี บันไดพับเก็บได้ ดีแค่ไหน หากไม่ใช่ขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานประจำของเรามันก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้นก่อนซื้อเราต้องพิจารณาถึงเรื่องความจำเป็นในการใช้และขนาดที่เหมาะสมด้วย
  6.   นี่เป็นลักษณะของ บันไดทรง A ที่ดี ที่เราควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อมาใช้งาน

7 ข้ออันตรายจากการใช้บันไดทรงเอที่หลายคนมองข้าม

การใช้งานบันไดทรงเอด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นก่อนใช้งานทุกครั้งจึงควรศึกษาข้อมูลของอุปกรณ์ให้ดี รวมถึงวิธีใช้งานที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัย ข้อห้ามที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เป็นข้อผิดพลาดที่คนใช้งานบันไดทรงเอส่วนใหญ่เกิดจากความชะล่าใจ จนทำให้เจ็บตัวกันมาแล้วมากมาย

1.กางบันไดไม่สุด

บันไดงานช่างที่แข็งแรงได้มาตรฐานจะมีบานพับค้ำยันติดตั้งอยู่ที่ขา ก่อนนำมาใช้งาน ควรตรวจสอบบานพับเหล่านั้นให้ดีว่าชำรุดเสียหายหรือไม่ และการตั้งบันไดในการใช้งาน ควรตั้งบันไดให้ตรงแล้วกางบันไดให้สุด เพื่อให้บานพับช่วยค้ำขาบันได จะช่วยให้ทรงตัวได้ดียิ่งขึ้น และมีความมั่นคงระหว่างการทำงาน

2.ไม่เก็บเครื่องมือออกจากบันไดขณะเคลื่อนย้ายบันได

การทำงานช่างในลักษณะที่ต้องย้ายพื้นที่ทำงานบ่อยๆ ทำให้หลายคนคิดว่าไม่จำเป็นจะต้องเก็บเครื่องมือช่างเล็กๆ น้อยๆ อย่างไขขวง หรือค้อนก่อนย้ายบันไดให้ดีเสียก่อนก็ได้ โดยย้ายบันไดทั้งๆ ที่ยังกางอยู่  เพราะสะดวกกว่าพับก่อนย้าย ซึ่งการกระทำเช่นนี้อาจทำให้เครื่องมือที่วางอยู่บนขั้นบันไดตกลงมาใส่เราจนทำให้ได้รับบาดเจ็บ ฉะนั้นทางที่ดีควรเก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยก่อนย้ายบันไดทุกคร้ัง หรือมีวิธีที่ดีกว่านั้นคือใช้กระเป๋าใส่อุปกรณ์ช่างสำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ทำงานทั่วไป เพราะนอกจากจะป้องกันอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยได้แล้ว ยังช่วยให้ขึ้นลงบันไดได้สะดวกกว่าการที่เรามีสิ่งของอยู่ในมืออย่างแน่นอน

3.ไม่เก็บบันไดหลังใช้งาน

การกางบันไดทิ้งไว้เป็นอันตรายต่อเด็กเล็กอย่างยิ่ง แน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้ลูกหลานของเราปีนบันไดเล่นตอนที่เราเผลอ ฉะนั้นทางที่ดีที่สุด หากต้องการพักระหว่างทำงาน แนะนำว่าควรพับบันไดแล้ววางนอนกับพื้น เพื่อป้องกันเรื่องร้ายๆ ที่อาจตามมาจะดีกว่า

4.ยืนหรือนั่งบนขั้นสุดท้ายของบันได

ส่วนมากอุบัติเหตุเสียการทรงตัวมักเกิดจากการนั่งหรือยืนทำงานบนบันไดขั้นสุดท้าย ฉะนั้นการเลือกใช้งานบันไดจึงควรเลือกบันไดที่สูงกว่าพื้นที่ทำงานจริงอย่างราวๆ 2 เมตร ยกตัวอย่าง หากต้องทำงานบนพื้นที่สูง 4 เมตร ควรเลือกใช้บันไดที่มีความสูง 6 เมตร และอาจยืนหรือนั่งต่ำกว่าขั้นบันไดบนสุดลงมาอย่างน้อย 2 ขั้น เพื่อให้ยึดจับขั้นบันไดที่สูงกว่าเมื่อเสียการทรงตัว

5.ตั้งบันไดใกล้สายไฟฟ้า

ไม่ควรตั้งบันไดใกล้กับเสาไฟฟ้า เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าช๊อตจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่หากต้องทำงานเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าจริงๆ ควรเลือกใช้บันไดที่ผลิตด้วยวัสดุที่ไม่เป็นฉนวน เพื่อความปลอดภัย เช่น บันไดไฟเบอร์กลาส

6.ขึ้นลงบันไดผิดวิธี

การขึ้นลงบันไดที่ถูกต้อง ควรหันหน้าเข้าบันได และใช้มือทั้งสองข้างจับขั้นบันไดไม่ใช่ขาบันไดโดยที่ต้องกางบันไดให้สุดด้วย ที่สำคัญคือไม่ควรขึ้นลงบันไดอย่างรีบร้อน

7.การรับน้ำหนักของบันได

บันไดแต่ละรุ่นและแต่ละประเภทจะรับน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง บันไดขนาดเล็กหรือบันไดขนาดกลางที่ใช้ในครัวเรือนอาจรับน้ำหนักได้ราวๆ 90 – 100 กิโลกรัม ส่วนบันไดที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงอาชีพอาจรับน้ำหนักได้มากถึงราวๆ 135 กิโลกรัมขึ้นไป 170 กิโลกรัมขึ้นไป ทั้งนี้ควรศึกษาคู่มือการใช้งานก่อนใช้บันไดเพื่อให้ทราบเรทการรับน้ำหนักของบันได ซึ่งน้ำหนักที่ระบุในคู่มือคือน้ำหนักรวมของตัวบุคคลและเครื่องมือที่นำขึ้นไปใช้งานด้วย

จุดเด่นของบันไดทรงเอที่ดี ได้มาตรฐาน ครอบคลุมการทำงาน

  • ผลิตด้วยวัสดุอลูมิเนียมคุณภาพสูง เป็นเกรดอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ ทนต่อการเกิดสนิม การกัดกร่อน ไปจนถึงความร้อน และมีความหนา รับน้ำหนักได้ดี

  • รูปทรงบันไดกางแล้วมั่นคง มีสมดุลที่ดี ไม่โยกขณะใช้งาน สามารถใช้งานคนเดียวได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการล้มคว่ำ

  • ขั้นบันไดมีความกว้างที่พอดี และควรมีแถบกันลื่นหรือมีการเซาะร่อง เพื่อให้เหมาะสมต่อการทำงานบนที่สูง บางรุ่นออกแบบขั้นบันไดมาแคบเกินไป ทำให้วางกล่องอุปกรณ์ไม่ได้ และยังไม่สะดวกเวลาต้องยืนทำงานนานๆ หรืแม้แต่อยู่ในอิริยาบถนั่งอีกด้วย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้

  • ขาบันไดควรใช้วัสดุยางแท้ที่ยึดกับพื้นผิวต่างๆ ได้ดี ซึ่งช่วยป้องกันบันไดเคลื่อนตัวขณะทำงานหรือเกิดการลื่นล้มคว่ำระหว่างใช้งาน

  • มีบานพับหรือข้อต่อที่แข็งแรงช่วยเสริมความแข็งแรงและการทรงตัวขณะปีนขึ้นทำงาน

  • ควรเลือกแบบใช้งานได้ 2 ฝั่งพร้อมกันอย่างมั่นคง เพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น

  • ควรเลือกที่มีขนาดและความสูงเหมาะสมต่อการใช้งานและความต้องการของเราจริงๆ น้ำหนักต้องไม่มากเกินไป จนยกไม่ไหว เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย

ลักษณะของบันไดทรงเอและการใช้งาน

บันไดทรงเอเป็นบันไดมากประสิทธิภาพ ใช้งานง่าย พับเก็บได้สะดวก เวลากางออกจะเหมือนอักษรตัว A ตั้งใช้งานได้มั่นคงทันทีโดยไม่ต้องหาที่พาดเหมือนบันไดพาด และไม่จำเป็นต้องมีคนช่วยจับ เหมาะสำหรับงานช่างทุกประเภท ไม่ว่าจะงานหนักงานเบา งานซ่อมบำรุงหรืองานติดตั้ง

นอกจากนี้ยังใช้งานบริเวณพื้นที่แคบที่ไม่สามารถกางบันไดออกได้ แค่เพียงพับเข้าหากันก็ใช้งานแทนบันไดพาดได้ เพราะความสะดวกสบายจากลัษณะอันเป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะรุ่นนี้เอง บันไดทรงเอจึงถือเป็นอุปกรณ์คู่ใจช่างทั้งมือใหม่และมืออาชีพ เป็นที่นิยมใช้ในบ้านเรือนมากมายนอกเหนือจากใช้ในงานช่างสำหรับอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อีกด้วย

สรุปการใช้บันไดที่ถูกต้อง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการใช้งาน

-ควรกางบันไดให้สุด ให้บานพับช่วยค้ำขาบันได เพื่อการทรงตัวที่มั่นคงยิ่งขึ้น

-เก็บเครื่องมือช่างให้เรียบร้อยออกจากบันไดก่อนเคลื่อนย้ายทุกคร้ัง เพื่อป้องกันเครื่องมือหล่นใส่

-ระหว่างพัก ควรพับบันไดแล้ววางนอนกับพื้น เพื่อป้องกันเด็กเล็กปีนเล่น

-ไม่ควรตั้งบันไดใกล้เสาไฟฟ้า หรือพื้นที่เสี่ยงต่อการโดนไฟฟ้าช๊อต

-เลือกใช้บันไดที่ผลิตด้วยวัสดุที่ไม่เป็นฉนวนเมื่อต้องทำงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

-ควรหันหน้าเข้าบันได และใช้มือทั้งสองข้างจับขั้นบันไดขณะขึ้นลง

-ศึกษาเรทการรับน้ำหนักของบันไดในคู่มือก่อนใช้งานทุกครั้ง

การซื้อบันไดที่มีประสิทธิภาพก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้มาก โดยเฉพาะบันไดที่ผลิตด้วยวัสดุที่ได้แข็งแรง ได้มาตรฐาน และมีความหนาเพียงพอ รวมถึงข้อต่อต่างๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด - × 81.2 × 152.2 เซนติเมตร