ลดราคา!

C-0003 ลังพลาสติกโปร่ง เกรด A หลายสี สกรีน/ไม่สกรีน (Copy)

฿320.00

ต้องการติดต่อสอบถาม หรือ มีข้อสงสัย
ลังพลาสติกโปร่ง
Ventilated Plastic Crates
Size (mm.) Width Long Height Material
Internal 385 580 235
External 425 615 245

* กรณีต้องการลังพลาสติกสีอื่นๆ นอกจากสีมาตรฐาน กรุณาโทร 02-916-1900

> นอกจากนี้เรายังมีบริการงานสกรีนโลโก้สัญลักษณ์หน่วยงานองค์กรต่างๆ ให้ด้วยค่ะ

> และมีบริการทำชุดไส้ลูกฟูกตามสั่ง และทำฝาปิดพลาสติกใส PVC อีกด้วยค่ะ



คลิกสอบถามผ่านไลน์ได้ทันที

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลังพลาสติก

C-0003 ลังพลาสติก โปร่ง เกรด A หลายสี สกรีน/ไม่สกรีน

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลังพลาสติกโปร่ง
Ventilated Plastic Crates
Size (mm.) Width Long Height Material
Internal 385 580 235
External 425 615 245

* กรณีต้องการ ลังพลาสติก สีอื่นๆ นอกจากสีมาตรฐาน กรุณาโทร 02-916-1900

> นอกจากนี้เรายังมีบริการงานสกรีนโลโก้สัญลักษณ์หน่วยงานองค์กรต่างๆ ให้ด้วยค่ะ

> และมีบริการทำชุดไส้ลูกฟูกตามสั่ง และทำฝาปิดพลาสติกใส PVC อีกด้วยค่ะ

ลังพลาสติกแบบโปร่ง

เหมาะสำหรับบรรจุชิ้นส่วนต่างๆ ที่รอการประกอบ หรือ สิ่งของต่างๆ ที่ไม่มีหีบห่อ เพื่อความเป็นระเบียบ สามารถใช้งานกับ Racking และรถยกชนิดต่างๆได้ ทนต่อสารเคมี ไม่ดูดซึมความชื้น หมดปัญหาเรื่องมอดหรือปลวก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลาสติก

พลาสติก นับว่าเป็นวัสดุที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของมนุษย์เป็นอย่างมากและกําลังเป็นวัสดุสร้างที่มีคุณค่าควบคู่ไปกับเหล็กและไม่ถ้ารู้จักเลือกใช้พลาสติกให้เหมาะกับงาน ทั้งนี้ สามารถสร้างดัดแปลงและแปรรูปได้ง่าย ซึ่งจะพบในรูปของเครื่องแต่งกายอุปกรณ์เสริมสวยรวมทั้งเครื่องใช้ในครัวเรือนและสํานักงานต่าง ๆ ด้านอุตสาหกรรมนั้นจะเห็นได้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลทั่วไป
พลาสติก คืออะไรนั้นตอบได้ไม่ง่ายนัก คือ เมื่อราวศตวรรษที่แล้ว มนุษย์รู้จักวัสดุที่มี คุณสมบัติเหนียว ทนต่อการฉีกขาดยืดหยุ่นได้และทนต่อการสึกหรอได้ดีแต่ยังไม่รู้จักโครงสร้างที่แท้จริงของวัสดุนี้ดีนัก ซึ่งเป็นสารประกอบของมาโครโมเลกุล (Macromolecule) และยังมีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น เซลลูโลส โปรตีน และยางธรรมชาติสําหรับความหมายของพลาสติกนั้น พลาสติกคือ สารสังเคราะห์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมามีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่มาโครโมเลกุล (Macromolecule) ประกอบด้วยธาตุสําคัญคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน คลอรีน ฯลฯ ส่วนสมาคม วิศวกรพลาสติก (SPE) และสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก (SPI) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คําจํากัด ความของพลาสติกไว้ว่าพลาสติกคือวัสดุที่ประกอบด้วยสารหลายอย่าง มีน้ําหนักโมเลกุลสูงคงรูปเมื่อผ่านกรรมวิธีการผลิต ลักษณะอ่อนตัวขณะทําการผลิต ซึ่งโดยมากใช้กรรมวิธีการผลิตด้วยความร้อนหรือแรงอัดหรือทั้งสองอย่าง

การจำแนกประเภทของพลาสติก

พลาสติกเป็นวัสดุที่มีการใช้งานแพร่หลายในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมตั้งแต่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างและอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก (Society of the PlasticsIndustry, SPI)    ได้จำแนกพลาสติกแต่ละประเภทไว้เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบประเภทของพลาสติกในผลิตภัณฑ์และง่ายต่อการแยกประเภทขยะพลาสติกก่อนทำ การรีไซเคิล ในรูปแบบของสัญลักษณ์ตัวเลข 1-7 โดยมีลูกศรวนเป็นรูปสามเหลี่ยมล้อมรอบดังแสดงในภาพที่ 1 หรือที่เรียกกันว่า SPI code ซึ่งมักจะประทับอยู่ด้านใต้ของผลิตภัณฑ์ อักษรภาษาอังกฤษด้านล่างบ่งบอกถึงชื่อของพลาสติกซึ่งบางครั้งไม่ได้ระบุลงบนผลิตภัณฑ์และมีเพียงสัญลักษณ์ตัวเลขเท่านั้น สำ หรับผลิตภัณฑ์ที่มา
จากพลาสติกรีไซเคิลสัญลักษณ์ที่พบคล้ายคลึงกันแต่มีอักษร “R” นำ หน้าชื่อพลาสติก เช่น RPETE หรือ RPP เป็นต้น

พลาสติกประเภทที่ 1
พอลิเอทิลีน เทอเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate) อักษรย่อ PETE หรือ PET เป็นพลาสติกที่มีน้ำ หนักเบาต้นทุนต่ำ มักใช้ทำ ขวดน้ำ ดื่ม ภาชนะบรรจุอาหาร นิยมนำ ไปรีไซเคิลเป็นเส้นใยทำ พรม

พลาสติกประเภทที่ 2
พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene) หรือที่รู้จักกันว่า HDPE มีความทนต่อการกัดกร่อนดีมักใช้ทำ ขวดแชมพู ขวดน้ำ ยาทำ ความสะอาด และถุงขยะเป็นต้น พลาสติกชนิดนี้มีความปลอดภัยเนื่องจากยังไม่พบ
รายงานว่าตัวพลาสติกสามารถสลายตัวให้สารอันตรายได้เหมือนพลาสติกบางชนิด พลาสติก HDPE นี้โดยทั่วไปจะถูกนำ ไปรีไซเคิลทำ เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทลังพลาสติก หรือรั้วกั้นพลาสติก

พลาสติกประเภทที่ 3
พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride) หรือ PVC หรือบางครั้งแทนด้วยอักษร V ซึ่งหมายถึงพลาสติกในกลุ่มไวนิล (Vinyl)นิยมนำ ไปทำ เป็นท่อและแผ่นปูพื้น ซึ่งนักวิจัยแนะนำ ให้หลีกเลี่ยงการนำ ไปทำ เป็นบรรจุภัณฑ์สำ หรับอาหาร เพราะมี
องค์ประกอบของสารอันตรายชื่อ พทาเลต (Phthalate) โดยทั่วไปไม่นิยมนำ พลาสติกกลุ่มนี้มารีไซเคิล แต่พบอยู่บ้างในวัสดุที่นำ มาปูพื้นและแผ่นพลาสติกที่ใช้ในงานก่อสร้าง

พลาสติกประเภทที่ 4
พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low-density Polyethylene) หรือ LDPE เป็นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นดี ผลิตภัณฑ์ที่ทำ จาก LDPE ได้แก่ ถุงบรรจุอาหาร พลาสติกห่อขนมปังเป็นต้น ไม่นิยมนำ พลาสติกกลุ่มนี้มารีไซเคิลแต่สามารถพบได้ในบางผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน

พลาสติกประเภทที่ 5
พอลิพรอพิลีน (Polypropylene) หรือ PP นิยมนำ มาทำ ขวดนมเด็กแทน พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate, PC)เพื่อหลีกเลี่ยงสารกลุ่มบิสฟีนอล เอ (Bisphenol A, BPA)ซึ่งเป็นสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตพลาสติกพอลิคาร์บอเนตสารชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มสารอันตรายที่ไปรบกวนการทำ งานของต่อมไร้ท่อ หรือที่เรียกว่า Endocrine DisruptingCompounds (EDCs) ทำ ให้การทำ งานของระบบฮอร์โมนผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้พอลิพรอพิลีนยังมีความทนทานและสามารถนำ ไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิไม่สูงมากได้โดยไม่มีสารอันตรายปลดปล่อยออกมา ไม่นิยมนำ พลาสติกกลุ่มนี้มารีไซเคิล แต่พบได้ในบางผลิตภัณฑ์ เช่น ที่ขูด-ลอกหิมะออกจากรถ ไม้กวาดซี่พลาสติก

พลาสติกประเภทที่ 6
พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือ PS หรือ Styrofoamผลิตภัณฑ์ที่พบเห็นได้บ่อยคือ กล่องโฟมใส่อาหาร ลังสำ หรับบรรจุไข่ไก่ และภาชนะใช้แล้วทิ้ง พบว่าพลาสติกชนิดนี้มีการสลายตัวของสารสไตรีน (Styrene) ซึ่งเป็นอันตรายออกมาได้โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับอาหารที่มีอุณหภูมิสูง การรีไซเคิล PS ต้องใช้พลังงานค่อนข้างมากจึงยังไม่เป็นที่ยอมรับนัก

พลาสติกประเภทที่ 7
พลาสติกชนิดอื่นๆ ในกลุ่มนี้มีพอลิคาร์บอเนต(Polycarbonate, PC) ที่มีบิสฟีนอล เอ เป็นส่วนประกอบรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงพลาสติกชนิดอื่นๆ ได้แก่พลาสติกชีวภาพ หรือ Bio-based Plastic เช่น Polylactic Acid (PLA), Polyamide Plastic, Acrylic Plastic, Styrene Acrylonitrile หรือ SAN, Polyester เป็นต้นผู้บริโภคควรศึกษาการสังเกตชนิดของพลาสติกเพื่อให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน เช่นเมื่อผู้บริโภคต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกสำ หรับเด็กควรหลีกเลี่ยงพลาสติกประเภทที่ 3, 6 และ 7 ซึ่งสามารถสลายตัวให้สารอันตราย ได้แก่ พทาเลต สไตรีน และ บิสฟีนอล เอตามลำ ดับ และหลีกเลี่ยงการใช้งานภาชนะพลาสติกที่อุณหภูมิสูง เช่น การใช้งานในไมโครเวฟที่     กำลังวัตต์สูงเป็นเวลานานหากจำ เป็นต้องใช้ให้เปลี่ยนเป็นภาชนะอื่น เช่น แก้วหรือเซรามิก นอกจากนี้หากฟิล์มที่นำ มาห่ออาหารทำ จาก PVCก็ควรลอกฟิล์มส่วนที่สัมผัสกับอาหารออกก่อนการอุ่นอาหารทุกครั้ง