F-0040 ถังขยะทรงถ้วย มีฝาปิด ขนาด 25 ลิตร

ต้องการติดต่อสอบถาม หรือ มีข้อสงสัย

รายละเอียดเพิ่มเติม

ถังขยะ

ถังขยะทรงถ้วย 25 ลิตร

ถังขยะพลาสติก 25 ลิตร มีฝาปิดสนิท
Waste Bin Round With Lid
Size (mm.) Ø Height Material
External 350 360 MDPE
Capacity 25 Liter
Color
* For colors other than this. We can produce according to your choice.

* กรณีต้องการถังขยะสีอื่นๆ นอกจากสีมาตรฐาน กรุณาโทร 02-916-1900

ถังขยะ

> นอกจากนี้เรายังมีบริการงานสกรีนโลโก้สัญลักษณ์หน่วยงานองค์กรต่างๆ ให้ด้วยค่ะ

> มีสติ๊กเกอร์สำหรับติดถังขยะแยกประเภทรูปแบบต่างๆ บริการด้วยเช่นกันค่ะ

> บริการส่งสินค้าทั่วไทย โดยทีมงานมืออาชีพ สะดวก รวดเร็ว ทันใจ

ถังขยะ

ความรู้เกี่ยวกับขยะ

ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเผย ในปี 2559 มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในประเทศไทยมากถึง 27.06 ล้านตัน เมื่อเทียบปริมาณขยะแล้วใน 1 วัน มีคนทิ้งขยะวันละ 1.14 กิโลกรัมต่อคน โดยนอกจากข้อมูลของปริมาณขยะที่พบแล้วยังมีเรื่องของการทิ้งขยะและกำจัดขยะได้ไม่ถูกวิธี ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมและส่งกลิ่นรบกวนต่อพื้นที่อยู่อาศัยโดยรอบ

ปัญหาขยะล้นเมืองในประเทศไทยยังคงเป็นปัญหาที่ยังแก้ไขได้ยากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องของการคัดแยกขยะ รวมถึงการกำจัดขยะที่ถูกวิธี โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีจำนวนประชากรหนาแน่นจะพบปัญหาการถ่ายเทขยะไม่ทัน หรือการทิ้งขยะไม่เป็นที่ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะสะสมจนกลายเป็นวิกฤตเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยได้ในที่สุด

ทำไมเราต้องคัดแยกขยะ

หลังจากที่เราทิ้งขยะลงไปในถังแล้ว เรากลับไม่รู้เลยว่าขยะเหล่านั้นอาจจะไปส่งผลกระทบต่อผู้อื่นรวมถึงระบบนิเวศได้ง่ายๆ เพราะขยะหลากหลายรูปแบบจะไปกองทับถมกันโดยที่ไม่ได้ถูกแยกประเภทตั้งแต่แรก สิ่งที่ปะปนอยู่ในกองขยะเหล่านั้นก็จะกลายเป็นแหล่งเชื้อโรค และแบคทีเรียขนาดใหญ่ที่สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้ที่สัมผัสกับขยะเหล่านี้โดยตรงได้

นอกจากนี้ขยะมูลฝอยเป็นขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก ซึ่งนอกจากจะเป็นของจำพวกพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ เศษวัสดุเหลือใช้ เศษอาหาร ยังมีของจำพวกขยะอันตรายที่ถูกทิ้งปะปนไปกับขยะอื่นๆ เช่น ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี่ ที่สามารถปล่อยสารเคมีไปปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างง่ายดาย

การสร้างขยะเริ่มต้นที่ตัวของเราเอง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงควรคัดแยกขยะตามประเภทก่อนนำไปทิ้งที่ถังขยะสาธารณะ นอกจากจะเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสาธารณะแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการป้องกันปัญหากองขยะที่จะไปทำลายสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

การคัดแยกขยะตามประเภท

การคัดแยกขยะแต่ละประเภทควรใส่ไว้ในถุงเดียวกัน อาจจะเป็นถุงดำหรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่และมัดปากถุงให้สนิท ก่อนนำไปทิ้งที่ถังขยะสาธารณะที่แบ่งประเภทของขยะนั้นๆ ไว้แล้ว ได้แก่

ถังขยะสาธารณะสำหรับขยะประเภทนี้จะเป็น “สีน้ำเงิน”

ขยะทั่วไปเป็นขยะจำพวกเศษกระดาษ ซองพลาสติก เปลือกลูกอม หรือของจำพวกที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ที่ไม่คุ้มค่ากับการนำไปรีไซเคิล ขยะเหล่านี้จะถูกนำไปกำจัดตามกระบวนการ เช่น การฝังกลบ การเผาด้วยเตาเผาขยะ เป็นต้น

ถังขยะสาธารณะสำหรับขยะประเภทนี้จะเป็น “สีเขียว”

ขยะเปียกเป็นขยะย่อยสลายง่ายที่อยู่ในรูปแบบของเศษอาหารที่กินเหลือ วัตถุดิบที่เน่าเสียได้ง่าย ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ ซากพืช ซากสัตว์ ที่เมื่อทิ้งไว้ไม่นานจะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ขยะเหล่านี้อาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ เช่น การนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น

ถังขยะสาธารณะสำหรับขยะประเภทนี้จะเป็น “สีเหลือง”

ขยะรีไซเคิลมักเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วหรือวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้ เช่น แก้ว กระป๋อง ขวดน้ำ เศษพลาสติก ที่สามารถนำไปหลอมเพื่อแปรรูปสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ขยะประเภทนี้จะมีมูลค่าสามารถเก็บไว้ขายให้กับคนที่รับซื้อของเก่า เนื่องจากสามารถนำไปสร้างประโยชน์ต่อได้

ขยะรีไซเคิล หมายถึง ขยะ ของเสีย หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถน ากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยน า มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม เศษพลาสติก เศษโลหะ เป็น ต้น ขยะรีไซเคิล มีปริมาณ 42% ของขยะทั้งหมดทุกประเภท ขยะพวกนี้มีประโยชน์หลายซ้ าหลายซ้อนเพระ สามารถน าไปผลิตใช้ใหม่ได้ไม่รู้จบ

ซึ่งขยะพวกนี้จะมีการจัดการที่แตกต่างกัน โดยสามารถแยกเป็นประเภทได้ ดังนี้ 1. ประเภทของพลาสติก ขยะประเภทพลาสติกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะสินค้า และบรรจุ ภัณฑ์ส่วนมากท ามาจากพลาสติก เช่น ขวดนม กระป๋องยา ขวดน้ าดื่ม ซึ่งคุณสมบัติที่เหมาะสมของพลาสติกซึ่ง มีน้ าหนักเบา สีสันสวยงามไม่เป็นสนิม ทนทานและมีหลายประเภทท าให้พลาสติกเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ซึ่ง ขยะพวกนี้เมื่อน ามาเผาก็จะทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม หรือหากนำไปฝังกลบ ก็จะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ใน การฝังกลบ วิธีการที่ดีและเหมาะสมสำหรับการ

  1. กำจัดขยะพลาสติก ก็คือ การนำกลับมารีไซเคิล พลาสติกสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้เกือบทุกประเภท ส่วนพลาสติกที่ไม่สามารถกลับมารีไซเคิลได้ ได้แก่ พลาสติกชนิดยูเรีย เมลามีน และอีพอกซี่ ถึงแม้ว่าพลาสติกสามารถน ากลับมารีไซเคิลได้แต่ในประเทศยังไม่ได้มีการน าเอาพลาสติกกลับมา รีไซเคิลทุกประเภทเพราะปัญหาในเรื่องการคุ้มทุนในการลงทุน เนื่องจากพลาสติกมีน้ำหนักเบาและเก็บ รวบรวมได้อยาก เช่น ถุงพลาสติกและ โฟม สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้แต่ต้นทุนสูงเนื่องมาจากมีปริมาณ มากเปลืองพื้นที่ในการขนส่งทำให้ต้นทุนสูง

พลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ มีดังนี้

– โพลีโพรพิลีน นิยมนำมาใช้เป็นถ้วยนมเปรี้ยว กระป๋องมันฝรั่งทอด และกล่องเนยเทียม

– โพลีสไตรีน นิยมนำมาเป็นพาชนะแทนโฟม ถาดสลัด กล่องบรรจุวีดีโอ และซีดี

– โพลีเอททิลีน พลาสติกชนิดนี้น ามาทำขวดเครื่องดื่ม หรือขวดน้ำมันพืช

– โพลิไวนิลคลอไรด์ ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร หรือขวดน้ ามันพืชบางชนิด

– พลาสติกอื่นๆ เช่นพลาสติกผสม นิยมนำมาทำบรรจุภัณฑ์ที่มีสีดำ เช่น กะละมัง การคัดแยกพลาสติก เพื่อนำมารีไซเคิล ควรมีการจัดการ ดังนี้

– ล้างสิ่งปนเปื้อนออก ดึงฉลากและสิ่งต่างๆ ที่ติกกับพลาสติกออกให้หมด

– ทำให้แบนเพื่อประหยัดเนื้อที่

– คัดแยกพลาสติกตามประเภท สามารถแยกประเภทของพลาสติกได้จากเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์

ในกรณีที่ผู้ผลิตทำเครื่องหมายรีไซเคิลพร้อมทั้งตัวเลขระบุประเภทของพลาสติกไว้ หรือทดสอบโดย การช้ำหรือเผาไฟ

2. ประเภทกระดาษ ขยะจากบ้านเรือนและสำนักงานจะมีกระดาษเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเนื่องจาก ในชีวิตประจำวันของเรา จะต้องเกี่ยวพันกับการใช้กระดาษ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ กระดาษคอมพิวเตอร์ ถุงกระดาษ ลังกระดาษ เป็นต้น กระดาษเหล่านี้ส่วนใหญ่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ยกเว้นกระดาษบาง ประเภท เช่น กระดาษฟอยล์ห่อของขวัญ กระดาษเคลือบพลาสติก เนื่องจากกระดาษประเภทนี้ มีเซลลูโลส น้อยมากไม่เหมาะแก่การน ามารีไซเคิลอีก ในประเทศไทยสามารถนำกล่องนมกลับมารีไซเคิลได้แล้ว โดย กรุงเทพมหานครได้มีการสร้างโรงงานรีไซเคิลกล่องนมโดยเปิดดำเนินการเดือนธันวาคม 2543

การจัดการกระดาษ เพื่อนำมารีไซเคิล ก่อนที่จะนำกระดาษมารีไซเคิล ควรมีการแยกประเภทของ กระดาษก่อน ดังนี้

– ประเภทกล่องนมยูเอชที

– ประเภทกระดาษถุงปูน

– ประเภทกระดาษย่อยสลาย

– ประเภทกระดาษสี กระดาษกล่องรองเท้า

– ประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์

– ประเภทกระดาษแข็งกล่องน้ำตาล

– ประเภทกระดาษขาวดำ

– ประเภทกระดาษสมุด

– ประเภทกระดาษปอนด์ขาว การรีไซเคิลกระดาษ กระดาษที่รับซื้อมาจากบ้านเรือนหรือแหล่งต่างๆ จะถูกส่งไปยังโรงงานกระดาษ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผสมในการผลิตกระดาษประเภทต่างๆ กระดาษมีหลายชนิดและหลายคุณภาพ โดยกระดาษ ขาวสำหรับเขียนหรือกระดาษคอมพิวเตอร์ จะเป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูงถูกนำมาแปรรูปเป็นกระดาษสมุด และหนังสือ ส่วนกระดาษหนังสือพิมพ์และกระดาษกล่องจะมีคุณภาพต่ำ และถูกนำมาแปรรูปเป็นกระดาษ บรรจุเครื่องดื่ม กระดาษห่อของขวัญ กล่องกระดาษแข็ง เป็นต้น

3. ประเภทแก้ว แก้วเป็นผลิตภัณฑ์ที่ท ามาจากทราย โดยมีหินและโซดาไฟเป็นส่วนผสม โดยนำมา หลอมให้ขึ้นรูปเป็นภาชนะต่างๆ เช่นแก้วน้ า ขวดอาหารและเครื่องดื่ม แก้วเป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่สามารถหลอมท าใหม่ได้ ขวดแก้วทุกประเภทสามารถน ามารีไซเคิลได้ แต่ขวดแก้วต่างประเภทต่างสีจะมี ราคาต่างกัน ดังนั้นขวดแก้วสีขาวจะมีราคาดีที่สุด รองลงมา คือ สีชา และสีเขียว ถ้าเป็นลักษณะที่ขวดไม่แตก จะได้ราคาสูงกว่าขวดแตกหรือเศษแก้ว ดังนั้นจึงมีการคัดแยกออกตามสีและคุณภาพของแก้ว ดังนี้

– ขวดแก้วดี คัดแยกตามประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้ารับซื้อคืน เมื่อนำไปทำความ สะอาด แล้วน ามาบรรจุสินค้าใหม่อีกครั้ง เช่น ขวดเบียร์ช้าง ขวดแบล็คแคท ขวดไฮเนเก้น เป็นต้น ส่วนขวดแก้วที่ไม่ได้รับซื้อตามประเภทของบรรจุภัณฑ์จะคัดแยกตามประเภทของสีแก้ว คือ สีขาวใส สีชา และสีเขียว – ขวดแก้วแตก ขวดแก้วที่แตกหักชำรุดเสียหาย จะถูกนำมาคัดแยกสี คือ ขวดแก้ว ขวดแก้วสีชา ขวดแก้วสีเขียว เมื่อแยกสีแล้วจะถูกส่งไปเข้าโรงงานหลอมแก้ว เมื่อทุบให้แตกละเอียดแล้วล้างด้วย สารเคมี และหลอมละลายเพื่อเป่าให้เป็นขวดใหม่

4. ประเภทโลหะ โลหะหลากหลายชนิดเราสามารถนำกลับมารีไซเคิลโดยการนำมาหลอมและแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ สามารถแบ่งโลหะ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ – โลหะประเภทเหล็ก เหล็กสามารถนำมารีไซเคิลได้แทบทุกชนิด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

4.1เหล็กหล่อ

4.2เหล็กหนา

4.3เหล็กบาง เศษเหล็กที่รวบรวมได้พ่อค้ารับซื้อของเก่าจะทำการตัดเหล็กตามขนาดต่างๆตามที่โรงงานกำหนดเพื่อ สะดวกในการเข้าเตาหลอมและการขนส่ง

– โลหะประเภททองเหลือง ทองแดง และสแตนเลส โดยทองเหลืองสามารถน ากลับมาหลอมใหม่โดย ทำเป็นพระพุทธรูป ระฆัง อุปกรณ์สุขภัณฑ์ ส่วนทองแดงสามารถน ากลับมาหลอมเป็นสายไฟได้

5. ประเภทขยะอลูมิเนียม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

– อะลูมิเนียมหนา เช่น อะไหล่เครื่องยนต์ ลูกสูบอะลูมิเนียมอัลลอยด์

– อะลูมิเนียมบาง เช่น หม้อ กะละมัง ขันน้ า กระป๋องเครื่องดื่ม ขยะอลูมิเนียมประเภทกระป๋องน้ าอัดลมเป็นขยะที่มีปริมาณมากก่อนที่จะน าไปขาย ควรอัดกระป๋อง ให้มีปริมาณเล็กลง เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการขนส่ง สำหรับการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมนั้นพ่อค้ารับซื้อของ เก่าจะทำการอัดกระป๋องให้มีขนาดตามที่โรงงานกำหนด กระป๋องอลูมิเนียมสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ หลายๆครั้งไม่จำกัดจำนวนครั้งของการผลิต เมื่อกระป๋องอลูมิเนียมถูกส่งเข้าโรงงานแล้วจะถูกบดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วหลอมให้เป็นแท่งแข็ง จากนั้นนำไปรีดให้เป็นแผ่นบาง เพื่อส่งต่อไปยังโรงงานผลิตกระป๋อง เพื่อผลิต กระป๋องใหม่ ปัจจัยสำคัญในการรีไซเคิลวัสดุประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโลหะ พลาสติก กระดาษ แก้ว ต้องมีการ แยกประเภทของขยะรีไซเคิลแต่ละชนิดออกจากกันไม่ให้ปนกัน และมีการทำความสะอาดก่อนนำไปขาย ถ้า เป็นกระป๋องก็ควรที่จะอัดเพื่อลดปริมาตรก่อน แนวทางการจัดการขยะรีไซเคิล

• ธนาคารวัสดุรีไซเคิล

• ศูนย์วัสดุรีไซเคิล/ ตลาดนัดรีไซเคิล

• ผ้าป่ารีไซเคิล/ ขยะแลกไข่

• บริจาค

ถังขยะสาธารณะสำหรับขยะประเภทนี้จะเป็น “สีแดง”

ขยะอันตรายที่อาจมีสารปนเปื้อนไปกับสภาพแวดล้อมได้ เช่น กระป๋องสเปรย์ แบตเตอรี่ ถ่ายไฟฉาย อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพ ควรถูกแยกออกจากขยะทั่วไป เนื่องจากขยะเหล่านี้จะมีสารประกอบทางเคมีอันตรายหลายอย่างที่ต้องถูกกำจัดอย่างถูกวิธี

การลดขยะที่ต้นทาง

ปัญหาการเพิ่มขึ้นของขยะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากเราทุกคน การช่วยลดปัญหานี้ให้เบาลงได้คือการเริ่มสร้างจิตสำนึกของตนเองก่อนทิ้งขยะทุกครั้ง ควรแยกถังขยะออกไปตามประเภทของขยะ เพื่อการจัดการขยะในขั้นตอนต่อไปที่ง่ายลง โดยสามารถทำได้ตั้งแต่ตัวเอง ครอบครัว และชุมชน ให้มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการลดปริมาณขยะให้น้อยลงได้ด้วยวิธีดังนี้

  • ลดการใช้งาน (Refuse)

ด้วยการหลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์ วัสดุห่อหุ้มสินค้า ที่จะสร้างปริมาณขยะเพิ่มขึ้น เช่น ถุงหิ้วพลาสติก กล่องโฟม หรือสิ่งที่ใช้งานได้ครั้งเดียวแล้วทิ้งซึ่งสร้างปริมาณขยะมากขึ้นและย่อยสลายได้ยาก

  • นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse)

การนำบรรจุภัณฑ์ หรือถุงพลาสติกที่ใช้แล้วแต่ยังใช้งานได้อยู่กลับมาใช้ซ้ำ

  • นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดปริมาณขยะและมลพิษกับสิ่งแวดล้อม โดยการนำของที่ใช้แล้วมาเพิ่มมูลค่า โดยนำเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกครั้งเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถนำมาใช้งานหรือขายออกสู่ตลาดได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด 35 × - × 36 เซนติเมตร