K-801-40-1*แกลลอนบรรจุสารเคมี HM-HDPE 20 ลิตร สีน้ำเงิน
฿210.00
ต้องการติดต่อสอบถาม หรือ มีข้อสงสัยรายละเอียดเพิ่มเติม
แกลลอนพลาสติก
K-801-40-1*แกลลอนบรรจุสารเคมี HM-HDPE 20 ลิตร สีน้ำเงิน
แกลลอนพลาสติก Plastic Gallon |
||||
Size (mm.) | Width | Length | Height | Material |
External | 280 | 280 | 370 | HM-HDPE |
แกลลอนพลาสติก
> แกลลอนพลาสติก HM-HDPE มาตรฐานตามข้อกำหนด UN
> มีคุณสมบัติทนทานต่อการปนเปื้อนและการกัดกร่อนจากผลิตภัณที่บรรจุ
> เหมาะสำหรับบรรจุ อาหาร ยา ปุ๋ยหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ออแกนิค และสารเคมี
> มีคุณสมบัติทนทานต่อการปนเปื้อนและการกัดกร่อนจากผลิตภัณที่บรรจุ
> ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง ISO 9001:2008 และ HACCP จาก MASCI
แกลลอนพลาสติก
แกลลอน (Galloon) บรรจุสารเคมี (Chemical Galloon) เป็นแกลลอนที่ถูกใช้ในการบรรจุสารเคมีหรือสารที่มีความเป็นพิษหรือเสี่ยงต่อสุขภาพ เพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับมือหรือผิวหนังของมนุษย์ มักนำมาใช้ในการบรรจุสารเคมีที่ต้องการความปลอดภัยในการจัดเก็บและขนส่ง เช่น สารเคมีที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง น้ำหอม สารอาหาร เป็นต้น
การใช้แกลลอนบรรจุสารเคมีทำให้สามารถควบคุมปริมาณสารที่ถูกบรรจุในแต่ละหนึ่งชิ้น และป้องกันการรั่วไหลหรือการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังของมนุษย์ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานและจัดเก็บสารเคมีได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การใช้แกลลอนบรรจุสารเคมียังช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียสารเคมีจากการรั่วไหลหรือการสูญเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งและจัดเก็บอีกด้วย
แกลลอนบรรจุสารเคมีมักถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งการขนส่งและการจัดเก็บ เพื่อให้สามารถทนทานต่อแรงกระแทกหรือการเคลื่อนที่ที่อาจทำให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีได้ แกลลอนบรรจุสารเคมีมักมีการปรับปรุงให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานและการจัดเก็บในทุกสถานการณ์ต่างๆ ทำให้เป็นวัสดุที่มีความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยและป้องกันการสูญเสียสารเคมีในอุตสาหกรรมต่างๆ
กลลอนที่ใช้ในการบรรจุสารเคมีจะผลิตจากวัสดุที่ทนทานต่อสารเคมี เช่น เหล็กเพลาสทิกหรือสแตนเลส การเลือกใช้วัสดุขึ้นอยู่กับลักษณะของสารเคมีและการใช้งาน เช่น สำหรับสารเคมีที่มีความเป็นกรดหรือเบสสูงอาจจำเป็นต้องใช้แกลลอนที่ทนทานต่อกรดหรือเบส เป็นต้น
แกลลอนบรรจุสารเคมีมักมีการออกแบบพิเศษ เช่น การมีฝาปิดที่สามารถป้องกันการรั่วไหลของสารเคมี การมีระบบหลอดซึมสำหรับการระบายสารเคมีออกจากแกลลอน และส่วนประกอบที่เข้มแข็งเพื่อให้สามารถรับมือกับการใช้งานที่เป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ บางแกลลอนยังมีการระบุสัญลักษณ์ที่ชัดเจนเพื่อแสดงถึงประเภทของสารเคมีที่บรรจุอยู่ภายใน และข้อควรระวังในการใช้งาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการจัดเก็บและใช้งานสารเคมีในแกลลอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย.
แกลลอนพลาสติก บรรจุภัณฑ์สารพัดประโยชน์
1 แกลลอนเท่ากับกี่ลิตร? ใส่ของเหลวได้มากแค่ไหน
แน่นอนว่าความโดดเด่นของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ คือความจุที่มากกว่า ขวดพลาสติก ขวดน้ำดื่ม หรือ ขวดใส่สารเคมี ทั่วๆ ไป โดย 1 แกลลอน จะมีปริมาณราวๆ 3.785 ลิตร และแกลลอนพลาสติกที่ได้มาตรฐานตามท้องตลาด ควรมีปริมาณการใส่ของเหลวที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการใช้งานของผู้บริโภค
แกลลอนพลาสติก คืออะไร?
แกลลอนเป็นหน่วยการบรรจุที่ต่างประเทศนิยมใช้ บรรจุแกลลอนน้ำมัน แกลลอนสารเคมี บรรจุภัณฑ์ขนาดพอดีในหน่วย 1 แกลลอน
ซึ่งในต่างประเทศจะนิยมเรียกใช้คำว่า Jerrican หรือ Jerrycan ถังลักษณะทรงนี้ไม่มีคำนิยามที่เฉพาะเจาะจงในไทย เพราะถ้าพูดถึงถังแล้ว มีทรงบรรจุภัณฑ์หลายรูปทรงที่หมายถึงถังทั้งแบบมีฝาปิด ไม่มีฝาปิด
เมื่อมีการเรียกต่อๆ กันมา นอกจากความหมายในเชิงของหน่วยวัดขนาดบรรจุแล้ว คนไทยยังนิยมใช้เรียก ถังบรรจุภัณฑ์ลักษณะใกล้เคียงกันว่าเป็นแกลลอนไปด้วย โดยลักษณะจะเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดมีฝาปิดมิดชิด มีหูจับ มีความแข็งแรง ทำมาจากพลาสติก จึงเรียกว่าแกลลอนพลาสติกนั่นเอง
แกลลอนพลาสติกที่ดี ควรมีปริมาณเท่าไหร่บ้าง?
แกลลอนความจุ 1 ลิตร เหมาะสำหรับการจุสารเคมีหรืออาหาร ที่ระยะเวลา วันหมดอายุค่อนข้างจำกัด เช่น แกลลอนนมสด แกลลอนน้ำผลไม้ เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าประเภทที่ควรเปิดใช้ให้หมดภายในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อคงคุณภาพสินค้า ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
แกลลอนความจุ 3 ลิตรขึ้นไป เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทที่ระยะเวลาวันหมดอายุค่อนข้างนาน สามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่ต้องกลัวเสีย เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น แกลลอนน้ำดื่ม 5 ลิตร หรือแกลลอนใส่สารเคมี
แกลลอนความจุ 10 ลิตรขึ้นไป เป็นปริมาณที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการใช้งานเป็นปริมาณมาก สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน แบ่งใช้ได้ทีละหลายๆ ครั้งโดยไม่ต้องกลัวการปนเปื้อน โดยส่วนมากจะเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสารเคมี ไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น แกลลอนน้ำมัน
แกลลอนพลาสติก บรรจุภัณฑ์สารพัดประโยชน์
ว่าด้วยเรื่องของ แกลลอนพลาสติก ทุกวันนี้ในวงการบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีตัวเลือกให้คุณได้เลือกใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติก ขวดหัวปั๊ม ถังพลาสติกขนาดใหญ่ หรือแกลลอนพลาสติกที่มักถูกเลือกใช้ในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี แน่นอนว่าบรรจุภัณฑ์แต่ละอย่างต่างก็มีข้อดีในแบบของตัวเอง การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้า นอกจากจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นการรักษาคุณภาพของสินค้าได้อีกด้วย
บรรจุภัณฑ์ใส่สารเคมี
เนื่องจากสารเคมี เป็นสารเหลวที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายวงการ เช่น น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาล้างรถ ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง หัวเชื้อจุลินทรีย์ แต่การจะหาบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใส่สารเคมีเหล่านั้น จำเป็นต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีความทนทาน ไม่ว่าจะเป็นการทนต่อแรงกระแทกจากภายนอก หรือการปนเปื้อนจากภายใน ควรเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีฝาปิดมิดชิด มีหูจับเพื่อสะดวกต่อการขนย้าย และมีความจุเพียงพอต่อการใช้งานโดยไม่ต้องสับเปลี่ยนบ่อย
ข้อดีของการใช้แกลลอนบรรจุสารเคมี
- ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี บรรจุภัณฑ์ไม่เสียหายหรือแตกรั่วจากการกัดกร่อน
- บรรจุได้เป็นปริมาณมาก ไม่เกิดสารตกค้าง แม้จะใส่สารเคมีทิ้งไว้เป็นเวลานานก็ตาม
- ทนความร้อน มีโครงสร้างที่แข็งแรง มีฝาปิดมิดชิด
- ทนต่อการใช้งาน อายุการใช้งานยาวนาน คุ้มค่าและราคาถูก
- มีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ง่ายต่อการจัดเก็บ
โดยกลุ่มธุรกิจที่นิยมใช้แกลลอนพลาสติกสำหรับบรรจุของเหลวจำพวกสารเคมี มีทั้งวงการวัสดุก่อสร้าง กลุ่มเคมีก่อสร้าง วงการเครื่องยนต์ และวงการน้ำยาทำความสะอาด ซึ่งจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ตามร้านค้าต่างๆ ที่มักใช้แกลลอนเป็นบรรจุภัณฑ์ สะดวก หิ้วง่าย ปลอดภัยทั้งกับผู้จำหน่ายและ ผู้ใช้งาน
บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร
ไม่ใช่แค่วงการเคมีเท่านั้น ที่ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อน วงการอาหารเองก็ต้องการเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าคุณสมบัติของอาหารจะไม่ได้กัดกร่อนหรือเป็นอันตรายต่อเนื้อพลาสติกมากเท่าสารเคมี แต่ก็มีความต้องการใช้งานบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ที่ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่ากันเลย
ประโยชน์ของการใช้แกลลอนบรรจุอาหาร
- สามารถบรรจุเครื่องดื่มได้เป็นปริมาณมาก เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ต้องการพกเครื่องดื่ม เครื่องปรุงทีละหลายๆ ขวด พก 1 แกลลอนใหญ่ๆ ใช้งานได้อย่างยาวนาน สามารถแบ่งดื่ม แบ่งใช้งานได้โดยไม่ทำให้เครื่องดื่มด้านในปนเปื้อน
- มีฝาปิดมิดชิด ป้องกันความสูญเสียจากการหกเลอะ แถมมีหูจับที่ทำให้การพกพาสะดวกยิ่งขึ้น
- เนื้อพลาสติกทนต่อการกัดกร่อนของเครื่องดื่มและอาหารบางประเภท เช่น น้ำส้มสายชู น้ำจิ้ม เครื่องดื่มหรือ เครื่องปรุงที่มีรสจัด ทั้งยังปลอดภัยต่อการปนเปื้อนจากสารเคมี
- เนื้อพลาสติกเหมาะสำหรับการตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สี ติดสติ๊กเกอร์ต่างๆ เพื่อความน่าสนใจ
บรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ
นอกเหนือจากสารเคมีและอาหารแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อีกหลายประเภทที่นิยมใช้แกลลอนพลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะในวงการที่ต้องการกำลังการผลิต ใช้งานวัตถุดิบต่างๆ เป็นจำนวนมาก การใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ บรรจุได้เยอะ ปลอดภัยต่อการใช้งาน และขนย้ายง่าย ก็สามารถทุ่นแรงและ ประหยัดเวลาในการสับเปลี่ยนบ่อยๆ ซึ่งถึงแม้จะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่สำหรับงานที่ต้องการความสะดวกสบายและ ให้ความสำคัญกับเวลาแล้ว การใช้บรรจุภัณฑ์อย่างเหมาะสมก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึง
เรื่องของแกลลอนพลาสติก ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหลากหลายวงการ ทุกวันนี้มีสินค้าจำนวนมากที่มีส่วนผสมของสารเคมี ของเหลวที่มีฤทธิ์เป็นกรด การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย ไม่ปนเปื้อน ปริมาณเพียงพอต่อการใช้งาน จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจควรคำนึงถึง
บรรจุภัณฑ์เคมี หรือ บรรจุภัณฑ์ใส่สารเคมี ถือเป็นหนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในวงการก่อสร้างและการเกษตร ซึ่งสารเคมีที่นิยมนำมาใส่ในบรรจุภัณฑ์นั้น มีทั้งสารเคมีสำหรับการกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช สารเคมีทำความสะอาด สารเคมีที่ใช้งานก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น โดยหลังจากที่ผ่านการใช้งานแล้ว มักจะมีซากบรรจุภัณฑ์เคมีจำพวกนี้เหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น แกลลอนพลาสติก ถังพลาสติก หรือกระทั่งขวดพลาสติก การจะนำบรรจุภัณฑ์เคมีเหล่านี้ไปกำจัด ถือเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังและต้องศึกษาวิธีการให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนอันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
การกำจัดบรรจุภัณฑ์เคมีอย่างปลอดภัย มีวิธีการจัดการที่แตกต่างจากบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นๆ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ด้วยคุณสมบัติของสารเคมีที่บรรจุไว้ในบรรจุภัณฑ์เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ยิ่งมีความอันตรายมากเท่าไหร่ ทั้งข้อห้าม และข้อจำกัดก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
มาดูกันว่า วิธีจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีอย่างปลอดภัย มีอะไรบ้าง
การจัดการ บรรจุภัณฑ์เคมี อย่างปลอดภัย มีอะไรบ้าง?
ก่อนจะไปถึงเรื่องการกำจัด เรามาดูกันก่อนว่า บรรจุภัณฑ์เคมี ประเภทไหน เข้าข่ายบรรจุภัณฑ์อันตรายที่ต้องคัดแยกออกมาก่อนการกำจัด เพื่อความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดี ห่างไกลจากสารปนเปื้อนจากบรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นสารเคมีที่อยู่ใกล้ตัวทั้งสิ้น
บรรจุภัณฑ์อะไรบ้าง ที่นับว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่สารเคมี?
- บรรจุภัณฑ์ใส่สารเคมีทางการเกษตร เช่น น้ำยากำจัดโรคพืช น้ำยากำจัดแมลงและศัตรูพืช หัวเชื้อจุลินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และสารเคมีอื่นๆ ทางการเกษตร เป็นต้น
- บรรจุภัณฑ์ใส่สารเคมี กลุ่มเคมีก่อสร้าง เช่น น้ำยาทารองพื้น น้ำยาทากันน้ำ น้ำยาเคลือบเงา น้ำยาประสานและเพิ่มคุณภาพคอนกรีน น้ำยาเพิ่มการยึดเกาะ เป็นต้น
- บรรจุภัณฑ์ใส่สารเคมี ประเภทน้ำยาทำความอาด เช่น น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ น้ำยากำจัดปลวก น้ำยากำจัดสนิม น้ำยากำจัดเชื้อรา น้ำยากำจัดตะไคร่น้ำ เป็นต้น
- บรรจุภัณฑ์ใส่สารเคมีประเภทอื่นๆ เช่นในน้ำยาที่ใช้ในวงการการแพทย์ วิทยาศาสตร์ ความงาม
การกำจัดบรรจุภัณฑ์เคมี ต้องทำอย่างไรบ้าง?
สิ่งแรกที่ควรทำในการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์เคมีอย่างปลอดภัย คือการแต่งตัวให้รัดกุม เหมาะสม และการทำความสะอาดร่างกายอย่างละเอียดหลังจากการทำงานร่วมกับสารเหล่านี้ เมื่อแน่ใจว่าการแต่งกายเหมาะสมที่จะกำจัดหรือสัมผัสกับสารเคมีเหล่านั้นแล้ว ควรปฏิบัติตามวิธีการต่อไปนี้
- ในกรณีที่เป็นสารเคมีทั่วไป เช่น สารเคมีที่ใช้ทางการเกษตร สารเคมีสำหรับเช็ดล้างทำความสะอาด ไม่ใช่สารเคมีต้องห้ามหรือสารเคมีอันตราย เราสามารถนำบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง โดยการเช็ดล้างทำความสะอาดสารเคมีภายในบรรจุภัณฑ์ให้สะอาดก่อนส่งไปรีไซเคิล
วิธีการล้างสารเคมีภายในบรรจุภัณฑ์ สามารถได้โดยการชำระล้างสามครั้ง (Triple Rinsing) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหลายหน่วยงานทั่วโลก ว่าสามารถลดปริมาณสารตกค้างในบรรจุภัณฑ์ได้ถึง 99.99% และยังช่วยลดอันตรายจากการปนเปื้อนของสารเคมีต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมได้ แต่ไม่ควรนำกลับไปใช้ในวงการที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค การรักษา และความงาม เพราะอาจทำให้เกิดอันตราย
- หรือหากไม่ต้องการนำบรรจุภัณฑ์เคมีกลับมาใช้งานอีก ควรทำลายภาชนะบรรจุโดยการตัด ทุบทำลาย หรือเจาะรู เพื่อทำให้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำไปใช้งานได้อีกครั้ง แล้วคัดแยกไปทิ้งตามประเภทขยะของบรรจุภัณฑ์นั้นๆ อย่างเหมาะสม
- ในกรณีที่เป็นสารเคมีต้องห้ามหรือสารเคมีอันตราย เช่น วัตถุไวไฟ วัตถุกัดกร่อน ก๊าซ วัตถุมีพิษหรือติดเชื้อ ควรกำจัดทิ้งด้วยการคัดแยกเป็นขยะอันตราย แล้วรวบรวมนำไปทิ้งในถังขยะฝาสีแดงที่มีสัญลักษณ์ของขยะอันตราย ซึ่งขยะดังกล่าวจะถูกหน่วยงานกำจัดขยะเก็บรวบรวมไปกำจัดที่ศูนย์กำจัดของเสียต่อไป เพื่อความปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
- ไม่ควรฝังหรือเผาบรรจุภัณฑ์เคมี เพราะการฝัง มีโอกาสที่สารเคมีในบรรจุภัณฑ์จะปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำ กลายเป็นมลพิษและสารก่อมะเร็งในระยะยาวได้ อีกทั้งการเผาทำลายยังอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง เช่น เกิดไฟลุกไหม้ หรืออาจทำให้เกิดการระเบิดได้ จึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำจัดขยะอันตรายเป็นคนรับผิดชอบนำไปกำจัดทิ้งอย่างเหมาะสม
นอกจากวิธีที่นำเสนอไปข้างต้น การกำจัดและรียูสบรรจุภัณฑ์เคมี ยังสามารถทำได้อีกหลากหลายวิธีการ ซึ่งทุกวิธีการต้องอาศัยความระมัดระวัง และละเอียดถี่ถ้วนในทุกขั้นตอนการจัดการ เพื่อไม่ให้สารเคมีในบรรจุภัณฑ์ออกมาปนเปื้อน สร้างความเสียหายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำมาซึ่งปัญหามากมายในอนาคต
มาจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและสังคม
ข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาด | 28 × 28 × 37 เซนติเมตร |
---|
ตอบสนองทุกความต้องการทางธุรกิจ
ชินเตอร์โปรดักส์เข้าใจ ถึงความต้องการที่หลากหลาย และชินเตอร์ยังให้ความสำคัญกับลูกค้าเสมอมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา โทรหาเราสิคะ 02-916-1900 สำรอง 095-556-9003
Fax :
ฝ่ายขาย : 02-543-9497
ฝ่ายบัญชี : 02-916-1300
สกรีนฟรี
ซื้อสินค้ากับเรา สามารถสั่งสกรีนข้อความ โลโก้หน่วยงาน คัดแยกขยะ หรือ บ้านเลขที่ ได้ ฟรี (ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด)
จัดส่งตรงถึงที่
บริการส่งสินค้าทั่วไทย โดยทีมงานมืออาชีพ สะดวก รวดเร็ว ทันใจ