แฮนด์พาเลทมีความสำคัญในการเคลื่อนย้ายสินค้าในโลจิสติกส์และการจัดเก็บสินค้า การใช้แฮนด์พาเลทช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการย้ายของ ทำให้กระบวนการดำเนินการในโกดังหรือโรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ การใช้แฮนด์พาเลทยังช่วยลดการบรรทุกด้วยมือของพนักงาน ทำให้ลดความเหนื่อยล้าและเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจากการยกของที่มีน้ำหนักมากด้วยมือ เช่น พนักงานในโกดังหรือโรงงานมักจะใช้แฮนด์พาเลทในการยกของที่มีน้ำหนักหนักแทนที่จะยกด้วยมือโดยตรง ทำให้ลดการบาดเจ็บและการสูญเสียทรัพย์สินได้ด้วย
สำหรับการเลือกซื้อแฮนด์พาเลทควรพิจารณาความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น น้ำหนักที่สามารถยกได้ เสถียรภาพของโครงสร้าง และความทนทานต่อการใช้งานระยะยาว เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการใช้งาน
วิธีการใช้งานเบื้องต้นสำหรับรถลากพาเลท (Hand pallet truck)
วิธีการใช้งานแบบเบื้องต้นมีดังนี้
1. ยกพาเลท – ดันคันโยกลง แล้วทำการโยกด้ามจับจำทำให้งารถลากพาเลทจะยกขึ้น
2.เคลื่อนที่ – ปรับคันโยกมาตำแหน่งตรงกลาง จะเป็นตำแหน่งฟรี งาจะไม่ยกขึ้นหรือลง สำหรับการลากพาเลทเคลื่อนที่
3. พาเลทลง – ดันคันโยกหรือบีบคันโยกขึ้น จะทำให้งารถลากพาเลทลดระดับลง
ข้อแนะนำการใช้งานเพิ่มเติม
1. ควรยกขึ้นเพียงเล็กน้อย เพื่อให้สามารถเคลื่อนตัวได้ ไม่จำเป็นต้องยกขึ้นสุดนอกจากจะไม่ต้องออกแรงเกินจำเป็นแล้ว
ยังช่วยให้กระบอกยกไม่รับภาระมากเกินไป ป้องกันความเสียหาย
2. เมื่อไม่ได้ใช้งานรถลากพาเลท ไม่ควรยกของวางค้างไว้
3. ขณะใช้งานยกพาเลท ลากเคลื่อนที่ ควรอยู่ด้านหลังของด้ามจับ เพราะจะเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยขณะทำงาน ไม่ควรอยู่ใกล้ด้านของงาที่ยกของ
3. ไม่ควรนำรถไป ทิ้งไว้กลางแดด โดนฝน นานๆ เพราะจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
วิธีการเลือกรถลากพาเลท
1. ความกว้างของรถลากพาเลท โดยทั่วไปจะมีขนาดความกว้าง 2 ขนาด
– ขนาด 685 mm หน้ากว้าง เป็น รุ่นมาตรฐานนิยมมากสุด ใช้กับพาเลทส่วนใหญ่
– ขนาด 550 mm หน้าแคบ เป็นรุ่นตัวเลือก ใช้กับพาเลทขนาดเล็ก พาเลทหน้าแคบ
ดังนั้น ก่อนซื้อรถลากพาเลท จึงจำเป็นต้องตรวจสอบขนาดช่องเสียบของพาเลท เพื่อให้แน่ใจว่าจะเลือกใช้รถลากพาเลทขนาความกว้างงาเท่าไร
ที่สามารถใช้งานร่วมกับพาเลทที่มีอยู่ได้
2.ล้อรถลากพาเลท
– ล้อโพลียูรีเทน(PU) เป็นล้อสีแดง มีความนุ่ม ยืดหยุ่น เงียบขณะลาก เหมาะกับพื้นที่ฉากเรียบ ข้อเสีย ความทนทานปานกลาง สึกหรอง่ายหากใช้ในพื้นที่หยาบกระด้าง
ไม่ทนเคมี ไม่ทนความชื้น เพราะยางจะอมน้ำ
– ล้อไนล่อน(Nylon) เป็นล้อตัวเลือก มีสีขาว แข็งแรง ทนสารเคมี ทนความชื้น เหมาะกับงานในที่ชื้น มีสารเคมีตามพื้น ข้อเสีย กระด้าง เสียงดัง เวลาลาก
การใช้ Hand Lift อย่างปลอดภัย
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ความปลอดภัยของคนสำคัญมาก ถ้าใช้เครื่องมือ Hand Lift อย่างประมาท อาจเกิดความเสียหายขึ้นอย่างไม่คาดคิด
ด้วยความที่แฮนด์ลิฟท์เป็นเครื่องมือที่มีน้ำหนักมาก และยังต้องขนของที่มีน้ำหนักหลาย ๆ ตันไปด้วยอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถลากที่เป็น Hand Pallet แบบ Manual ที่ต้องใช้แรงงานคนในการควบคุม มันอาจจะต้องใช้ทักษะและความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ
เพราะหากใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง เช่น การลากแฮนด์พาเลทลงในทางลาดชันที่ผิดวิธี จึงทำให้กล่องลังต่าง ๆ หล่นลงจากพาเลท ซึ่งมันอาจทำให้มีการบาดเจ็บเกิดขึ้นได้
1. ตรวจเช็คทุกอย่างก่อนปฏิบัติงาน
ก่อนจะใช้งาน Hand Lift ไม่ว่าจะเป็นรุ่นธรรมดา, รุ่นไฟฟ้า, หรือแม้กระทั่งแฮนด์ลิฟท์ประเภทไหนก็ตาม สิ่งที่คุณจะต้องทำ คือการตรวจสอบทุกอย่างให้เรียบร้อยก่อนการปฏิบัติงานจริง ฉะนั้นสิ่งที่ควรตรวจเช็คคือ
-
ตรวจเช็ครอยแตกร้าวของ Hand Lift
การเช็คแฮนด์ลิฟท์ประเภทต่าง ๆ ของคุณว่ามีรอยแตกร้าว หรือความเสียหายตรงไหนหรือไม่ จะทำให้คุณลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้มากทีเดียวเลยค่ะ เพราะถ้าหากรถยกหรือรถลากมีความเสียหาย แต่คุณไม่ได้สังเกต การบรรทุกสิ่งของที่หนักมากๆ อาจส่งผลให้รถพังลงมาพร้อมกับสินค้านั้นๆ ซึ่งผลที่ตามมาคือ สินค้าอาจหล่นลงมาทับคน เป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายทั้งทรัพยากรที่เป็นสินค้าและทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญมากที่สุดก็ได้ค่ะ
ทำได้โดยการใช้แฮนด์กดคันโยกลง เพื่อยกงาขึ้นจนสุด จากนั้นสังเกตว่า ตอนที่โยกปั๊มมันสามารถใช้งานได้ราบรื่นดีไหม รวมทั้งคุณจะต้องตรวจสอบว่า มีน้ำมันไฮโดรลิกรั่วหรือไม่ไปพร้อม ๆ กันด้วย
ก่อนที่จะนำแฮนด์พาเลทสอดเข้าไปใต้พาเลทยกสินค้า สิ่งที่ต้องทำก่อนเลยคือ ให้เช็คว่าพาเลทสินค้านั้นมีความมั่นคง, แน่นหนา, และไม่มีความเสียหายแตกร้าว
-
ตรวจเช็คสิ่งกีดขวางรอบตัว
- เช็คให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางด้านบน ในระหว่างที่คุณกำลังยกพาเลทขึ้น ระวังสิ่งกีดขวางเหนือศีรษะ หรือสิ่งกีดขวางอื่น ๆ เช่น ชั้นวางสินค้า, เพดานที่ต่ำเกินไป และอื่น ๆ ที่อาจชนกับของที่เรากำลังบรรทุกบนพาเลทเพราะบางครั้ง สิ่งของที่บรรทุกอาจมีความสูงมาก ซึ่งอาจส่งผลให้มันชนเข้ากับสิ่งกีดขวางนั้นจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้นเช็คให้เรียบร้อยก่อนยกสินค้าและเคลื่อนที่รถลาก
2. ระวังเรื่องน้ำหนักสินค้า
ดูว่าแฮนด์ลิฟท์หรือแฮนด์พาเลทของคุณสามารถรองรับน้ำหนักได้มากที่สุดเท่าไหร่ และอย่าบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักเกินกว่านั้น เพราะอาจทำให้รถพังได้ง่าย อีกทั้งยังเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขณะลากรถได้
นำสิ่งของที่มีน้ำหนักมากที่สุดวางไว้ด้านล่างสุดด้วยนะ หลายคนน่าจะทราบดีแล้ว แต่เตือนบางคนที่มีความเร่งรีบหรือขี้เกียจเรียงสินค้า จึงวางอันไหนก็ได้ทับ ๆ กันไป แต่ถ้าคุณทำแบบนั้น สิ่งของที่วางทับ ๆ กันโดยไม่จัดลำดับน้ำหนักให้ดี มันมีโอกาสร่วงหล่นลงมาโดนหัวคน และเกิดความเสียหายได้
3. ไม่ควรวิ่งขณะกำลังเคลื่อนที่
ควรควบคุมความเร็วของการเคลื่อนที่ด้วยการเดิน ไม่ควรวิ่ง เวลาเลี้ยวควรเลี้ยวไปในทิศทางที่ชัดเจน
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือให้ต้องจับแฮนด์ให้แน่นและยืนตรงกลางของรถลากพาเลทเสมอในระหว่างที่กำลังเคลื่อนที่ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด
4. ควบคุมความเร็วในทางลาดชัน
แม้ว่าเราจะไม่ควรลากแฮนด์ลิฟท์และแฮนด์พาเลทไปในทางลาดชัน แต่ในบางครั้ง เราอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเดินผ่านมันได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้จะมี 2 กรณีด้วยกันคือ
ให้รถลากอยู่ด้านหน้า โดยสิ่งที่ควรทำเมื่อเดินลงทางลาดชันขณะกำลังควบคุมแฮนด์ลิฟท์อยู่ (โดยเฉพาะ Hand Pallet แบบธรรมดา) ให้ค่อย ๆ ลากรถลงและพยายามรักษาการทรงตัวไว้ให้ดี
การควบคุมความเร็ว ทำได้ด้วยการจับแฮนด์ให้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วดันไว้เล็กน้อยเพื่อชะลอความเร็วหากรถลากเคลื่อนที่เร็วเกินไป
ให้รถลากอยู่ด้านหลัง จากนั้นจับแฮนด์แล้วดึงขึ้นมาแล้วออกแรงลากมาตามทาง ระหว่างนี้ ให้สังเกตว่ามีสิ่งของตกหล่นด้วยหรือไม
5. ควรใช้การดึงหรือลากมากกว่าการเข็น
เมื่อคุณใช้การดึงหรือลากเข้าหาตัว จะทำให้คุณสามารถควบคุมตัวรถแฮนด์พาเลทได้ดีกว่า เพราะการเข็นหรือการดันออกไปเพื่อให้รถเคลื่อนที่ มีโอกาสที่จะทำให้ล้อเปลี่ยนทิศทาง และเสียการทรงตัวได้ง่าย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการพลิกคว่ำได้
# แต่หากใช้งานจนชำนาญแล้ว การเข็นอาจทำได้ในบางสถานการณ์ในระยะทางสั้น ๆ เช่น การเปลี่ยนทิศทาง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
6.ห้ามขึ้นไปบนรถลากเด็ดขาด
ถ้ารถลากพาเลทชนิดไหน ถูกออกแบบมาให้ใช้แค่ขนของอย่างเดียว คุณก็ควรใช้งานมันแค่นั้น ห้ามขึ้นไปบนรถลากพาเลทไม่ว่าจะในกรณีจำเป็นหรือนำไปขี่เล่นก็ตาม เพราะอาจส่งผลให้รถเสื่อมสภาพการใช้งาน และยังเป็นอันตรายต่อคนที่ขึ้นไปขี่อีกด้วย
7. อยู่ตำแหน่งที่เหมาะสม
ก่อนอื่นคุณอาจจะต้องกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่กับพนักงานทุกคนที่ใช้งานตั้งแต่แรกว่า ควรเดินทางซ้ายหรือขวา เพื่อให้เข้าใจตรงกันในโรงงาน ซึ่งก็จะเป็นระเบียบและเกิดอันตรายได้น้อยที่สุด
-
ขณะกำลังเคลื่อนที่
- ตรวจสอบบริเวณโดยรอบให้ดีว่ามีรถบรรทุกหรือรถโฟล์คลิฟท์คันอื่นที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านไปมาแถวนั้นหรือเปล่า ไม่ควรเคลื่อนที่ไปอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กันจนเกินไป หากมีเพื่อนร่วมงานสวนทางมาหรือถึงทางแยก ให้หยุดรถก่อนเสมอเพื่อป้องกันการชนกันเกิดขึ้น
-
ขณะจอด
- เวลาที่คุณหยุดจอดหรือถึงจุดหมาย ไม่ควรจอดขวางประตูหรือทางเดินเข้าออก นําสิ่งของมาวางขัดล้อไว้เพื่อป้องกันล้อเลื่อนไปมา จากนั้นให้ยืนในตำแหน่งที่ปลอดภัย ไม่เอาตัวเองเข้าใกล้ตัวรถพาเลทสินค้ามากเกินไป ไม่นำเท้าเข้าไปใกล้ ๆ ใต้รถลาก เพื่อป้องกันพาเลทสินค้าหรือล้อรถทับเท้านั่นเองค่ะ