BPR-006 โครงแผงแขวนกล่องอะไหล่ รุ่นหน้าเดียวตั้งพื้น

ต้องการติดต่อสอบถาม หรือ มีข้อสงสัย

รายละเอียดเพิ่มเติม

โครงแผงแขวนกล่องอะไหล่

BPR-006 โครงแผงแขวนกล่องอะไหล่ รุ่นหน้าเดียวตั้งพื้น

Dimension Number of Panels
WxDxH (mm) Horizontal Vertical
925x608x1140 2 3
*ราคาเฉพาะโครงแผงแขวน

# โครงแผงแขวนกล่องอะไหล่ (Bin Panel Rack)

# ชนิดชุบซิงค์ Galvanised

# รุ่นหน้าเดียวตั้งพื้น Single-Sided

> โครงตั้งพื้นแขวนกล่องอะไหล่ได้หลายขนาดตามความต้องการใช้งาน

ช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ

> โครงยึดแผงมีทั้งแบบแขวนกล่องอะไหล่ด้านเดียว และสองด้าน

> จัดเก็บชิ้นส่วนให้เป็นระเบียบ เห็นง่าย และหยิบใช้งานสะดวก


ตัวช่วยในการจัดเก็บอุปกรณ์ช่าง

เครื่องมือช่าง และอะไหล่เครื่องมือช่าง เป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยทุ่นเเรงในการทำงานเเละโดย มีส่วนในการเพิ่มกำลังหรือขีดจำกัดความสามารถของมนุษย์ ทำให้มีความสะดวกเเละช่วยให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น ต่อมามนุษย์ได้ดัดเเปลงเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เป็นเครื่องมือกลทางไฟฟ้าที่มีกำลังมากขึ้นหลายเท่าจากเครื่องมือธรรมดา ได้เเก่ สว่านไฟฟ้า เครื่องเจียร เครื่องตัด เลื่อยวงเดือน ประเภทของเครื่องมือช่าง แบ่งตามลักษณะของการใช้งาน ดังนี้

  1. เครื่องมือสำหรับวัดระยะ ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานวัด ตรวจสอบขนาดชิ้นงาน ใช้วัดความกว้าง ความยาว และความสูง เช่น ไม้บรรทัด ไม้เมตร สายวัด ตลับเมตร เป็นต้น
  2. เครื่องมือสำหรับตัด ใช้ตัดหรือผ่าวัสดุให้แยกออกจากกัน เช่น กรรไกร มีด เลื่อย คีมตัดลวด ขวาน เป็นต้น
  3. เครื่องมือสำหรับเจาะ ใช้เจาะวัสดุให้เป็นรู เช่น สิ่ว สว่านไฟฟ้า สว่านมือ เป็นต้น
  4. เครื่องมือสำหรับตอก ใช้ตอก ทุบ หรือตีวัสดุต่างๆ เช่น ค้อนหัวกลม ค้อนหัวแบน ค้อนาหงอน เป็นต้น
  5. เครื่องมือไขและขัน ใช้ไขหรือขันสกรูหรือน็อต จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
    – ไขควง ใช้ขันสกรูหรือตะปูเกลียว มีทั้งแบบแฉก แบบแบน แบบออฟเซ็ต แบบบล็อก
    – ประแจ ใช้หัวน็อตที่มีเหลี่ยม มีหลายแบบ เช่น ประแจปากตาย ประแจแหวน ประแจบล็อก ประแจเลื่อน
  6. เครื่องมือไสและตกแต่ง ใช้สำหรับลดขนาด ตกแต่งผิวหน้าของชิ้นงาน เช่น
    – กบ ได้แก่ กบล้างยาว กบล้างกลาง กบล้างสั้น กบผิว
    – ตะไบ ได้แก่ ตะไบแบน ตะไบเหลี่ยมจัตุรัส ตะไบกลม ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบครึ่งวงกลมหรือตะไบท้องปลิง ตะไบที่ใช้งานไม้หรือบุ้ง
วิธีการใช้และดูแลรักษาเครื่องมือช่าง
  1. วิธีการใช้เครื่องมือช่าง มีหลักปฏิบัติดังนี้
    – ศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือก่อนนำไปใช้
    – ตรวจสอบสภาพของเครื่องมือก่อนนำไปใช้งาน ถ้าพบว่าเครื่องมือชำรุด ควรนำไปซ่อมแซมก่อน
    – เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับลักษณะ และประเภทของงาน
    – ใช้เครื่องมือด้วยความระมัดระวัง และไม่เล่นหยอกล้อกันขณะกำลังปฏิบัติงาน
  2. การดูแลรักษาเครืองมือช่าง ควรปฏิบัติดังนี้
    – ควรทำความสะอาดเครื่องมือหลังการใช้งานทุกครั้ง เพื่อรักษาให้เครื่องมือมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
    – ถ้าเครื่องมือเกิดชำรุด ให้ซ่อมแซมก่อนนำไปเก็บ เพื่อป้องกันอันตรายเมื่อผู้อื่นมาใช้งานต่อ
    – เครื่องมือที่มีชิ้นส่วนเป็นโลหะ เช่น กรรไกร มีด เลื่อย ควรทาน้ำมันเพื่อป้องกันสนิมในส่วนที่เป็นโลหะ
    – จัดเก็บเครื่องมือให้เข้าที่ หรือเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย
การจัดเก็บเครื่องมือช่าง

แผงแขวนเครื่องมือ และตะขอแขวน ใช้จัดเก็บเครื่องมือชนิดต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่ตามความต้องการ ทำให้หยิบใช้งานได้ง่าย

การจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือในการทำงานช่าง เป็นกระบวนการการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในงานช่างอย่างเป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ ช่วยแยกประเภทของวัสดุการใช้งานที่เก็บไว้ให้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งเป็นการนำ 5 ส มาใช้ ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย

5 ส เป็นกระบวนการของการจัดเก็บ ซึ่งนำไปใช้ในสถานประกอบการ โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างดียิ่ง สามารถแบ่งประเภทการจัดเก็บเครื่องมือ ได้ดังนี้

การจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือ
  • เครื่องมือมีคม และของแหลม ควรมีปลอกสวมไว้เพื่อป้องกันอันตราย
  • เครื่องมือที่อาจเกิดสนิม ซึ่งจะนำความเสียหายให้แก่ชิ้นงาน ควรเก็บไว้ให้ห่างจากความชื้นหรือชโลมด้วยน้ำมันเพื่อกันสนิม
  • เครื่งมือที่เป็นพลาสติกห่อหุ้ม ควรเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป
  • ควรเก็บเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ปฏิบัติงานให้อยู่ในสภาพปกติ
  • หมั่นทำความสะอาดเครื่องมือหลังการใช้งานทุกครั้ง
  • เก็บรักษาเครื่องมือไว้ในที่ปลอดภัย
  • เครื่องมือที่มีน้ำหนักมากไม่ควรเก็บไว้บนหิ้งสูง เพราะไม่สะดวกในการหยิบใช้ และอาจทำให้เกิดอันตรายขณะหยิบใช้งานได้
การจัดเก็บสารเคมี
  • ควรเก็บให้ห่างจากมือเด็ก
  • เก็บในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • หมั่นตรวจดูสภาพภาชนะเก็บให้มีความปลอดภัย
  • แหล่งกำเนิดสารเคมีควรมีระบบความปลอดภัย
  • ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่
  • การเก็บต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสารเคมี
  • ไม่ควรเก็บสารเคมีให้ถูกแสงแดดโดยตรง เพราะสารจะเสื่อมคุณภาพ
การใช้งานตะขอแขวนเครื่องมือ

การใช้งานตะขอแขวนเครื่องมือทำได้อย่างสะดวกง่ายดาย และมีความยืดหยุ่นสูง เหตุผลก็เพราะการทำงานจะประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกก็คือ แผงแขวนเครื่องมือ หรือ Wall-Mounted Tools Panel ซึ่งมีขนาดให้เลือกตามความต้องการในการใช้งานทั้งรุ่นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรุ่นใหญ่หรือรุ่นเล็ก ก็ล้วนผลิตจากเหล็กคุณภาพ ใช้สำหรับติดตั้งตัวแขวนเพื่อจัดเก็บเครื่องมือช่างชนิดต่างๆ

และส่วนที่สอง คือ ตัวแขวน หรือ Holder อีกหลายหลายรูปแบบซึ่งเหมาะกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งในรูปแบบของตะขอขาเดี่ยว ตะขอขาคู่ ห่วงแขวนเครื่องมือไฟฟ้า ขาแขวนไขควงและคีม ตะขอสำหรับแขวนเครื่องมือน้ำหนักมาก ตะขอครึ่งวงกลม กล่องเสียบแขวนประแจปากตาย แผงแขวนไขควง กล่องแขวนประแจแอลหกเหลี่ยม ถาดอเนกประสงค์ และที่เสียบป้ายชื่อ ซึ่งคุณสามารถนำตัวแขวนหลากหลายชนิดเหล่านี้ไปติดตั้งเข้ากับแผงแขวนเครื่องมือได้อย่างยืดหยุ่น

ดังนี้แล้ว เมื่อนำอุปกรณ์ทั้งสองส่วนมาประกอบกัน คุณก็จะได้พื้นที่ในการจัดเก็บเครื่องมือที่ตรงกับความต้องการ และยังปรับเปลี่ยนวิธีการและลักษณะการใช้งานเพื่อให้มีประโยชน์ใช้สอยตรงตามความประสงค์ เพราะจุดเด่นที่สำคัญคือ ตัวแขวนทุกรูปแบบนั้นสามารถถอดออกแล้วนำมาใส่เข้ากับโครงแผงแขวนเครื่องมือได้โดยง่าย คุณจึงอาจจะโยกย้ายหรือเปลี่ยนตำแหน่งตัวแขวนได้เรื่อยๆ ให้เหมาะกับการใช้สอย ในเวลาเดียวกัน ตัวแผงเครื่องมือเองก็สามารถรองรับการติดตั้งตัวแขวนได้ในทุกรูปแบบ ฟังก์ชันการทำงานของแผงและตะขอแขวนเครื่องมือพลาสติก จึงมีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว (Flexible) สมกับชื่อแบรนด์อย่างแท้จริง

นอกจากตะขอแขวนเครื่องมือพลาสติกแล้ว เจนบรรเจิด ยังมี ตะขอแขวนเครื่องมือเหล็ก หรือ Steel Tools Holder เป็นตะขอสำหรับแขวนเครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง ผลิตจากเหล็กคุณภาพดี จุดเด่นของตะขอเหล็กนี้คือมีหลากหลายรูปแบบ สามารถเลือกใช้ได้ตามประเภทของการใช้งาน ข้อสำคัญคือ ติดตั้งและประกอบได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก สร้างความสะดวกให้ผู้ใช้งาน และยังช่วยลดการใช้พื้นที่ในการทำงานอีกด้วย

ตะขอเหล็กสำหรับแขวนเครื่องมือ สามารถแบ่งได้เป็นหลายชนิดตามแต่ลักษณะการทำงาน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
  • ที่แขวนประแจแหวน หรือ Wrench Hanger ใช้สำหรับแขวนประแจแหวน ด้วยการสอดส่วนที่เป็นวงแหวนของประแจเข้าไปในตะขอแขวน
  • สำหรับการจัดเก็บดอกสว่านที่มีจำนวนหลายชิ้นและมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อให้การจัดเก็บเป็นระเบียบ และสามารถหยิบใช้ได้อย่างสะดวก ควรใช้ตะขอเหล็กชนิด แท่นเสียบดอกสว่าน หรือ Drill Bit Holder ซึ่งมีทั้งรุ่น 17 และ 26 ช่อง
  • ตะขอแขวนเครื่องมือชนิด แผงแขวนไขควง หรือ Screwdriver Holder ใช้ในการเก็บรักษาไขควง ซึ่งโดยปกติมักมีหลากหลายแบบและขนาดให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ปะปนกับเครื่องมือชนิดอื่น
  • กล่องแขวนประแจแอลหกเหลี่ยม หรือ Hex Key Holder ใช้สำหรับจัดเก็บประแจหกเหลี่ยมรูปตัวแอล โดยการสอดปลายข้างหนึ่งลงในช่องว่างของกล่อง ทำให้เป็นระเบียบและหยิบใช้ได้สะดวกขึ้น
  • ที่แขวนเครื่องมือด้ามยาว หรือ Long Tool Holder ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 มิลลิเมตร
  • ขาแขวนคีม หรือ Plier Holder สำหรับแขวนคีมประเภทต่างๆ โดยมีขนาดที่แตกต่างกันให้เลือก 3 ขนาด ตามแต่การใช้งาน
  • กล่องเสียบแขวนประแจปากตาย หรือ Wrench Holder เป็นตะขอแขวนประแจปากตาย ด้วยวิธีการเรียงประแจตามแนวนอนให้เป็นระเบียบ
  • ห่วงแขวนเครื่องมือไฟฟ้า หรือ Power Tool Hanger ใช้สำหรับการเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น สว่าน โดยมีให้เลือกด้วยกันหลายขนาด ตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 40,60และ 80มิลลิเมตร
  • ที่วางลูกบ๊อก หรือ Socket Holder
  • ตะขอตรงยาว หรือ Straight Hook มีให้เลือก 2 ขนาด คือ ความยาว 25 กับ 100 มิลลิเมตร
  • ที่แขวนโครงเลื่อย หรือ Saw Hanger สำหรับการเก็บเลื่อยชนิดต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นระเบียบแล้วยังช่วยให้เกิดความปลอดภัยด้วย

นอกจากตะขอแขวนเครื่องมีที่เฉพาะเจาะจงกับประเภทของอุปกรณ์ช่างแต่ละชนิดแล้ว ก็ยังมีตะขอเหล็กแบบ ตะขอเดี่ยว หรือ Single Straight Hook with Curved Tip และ ตะขอคู่ หรือ Double Straight Hook with Curved Tip ซึ่งใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีหลายขนาดความยาวให้เลือกตามความเหมาะสมกับการใช้งาน

ข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด - × 92.5 × 114 เซนติเมตร